รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามสัญญาการรับตั้งครรภ์
ชื่อเรื่องรอง Law Enforcement on the Surrogacy Contract
ชื่อผู้แต่ง
1.ธนชาต หร่ายเจริญ
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การรับตั้งครรภ์แทน
2.พระราชบัญญัติการรับตั้งครรภ์แทน
หัวเรื่องควบคุม
1.ครรภ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
2.มารดารับจ้างตั้งครรภ์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ จากการศึกษาพบว่า ในร่างพระราชบัญญัติการรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ........ มีปัญหาได้แก่ ปัญหาสิทธิของ ผู้ต้องการให้ตั้งครรภ์แทนที่ร่างกำหนดให้สิทธิแก่คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ทำให้การตกลงระหว่างหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนกับหญิงหรือชายที่ไม่มีคู่สมรสแต่ต้องการมีบุตร หรือตกลงกับชายและหญิงที่ไม่ได้เป็นคู่สมรสกันตามกฎหมายแต่ต้องการมีบุตร ไม่ถือว่าอยู่ในความหมายของการรับตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัตินี้ ย่อมเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาคกันของประชาชนทุกคนต่อหน้ากฎหมาย (Equality before the law) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญตามรัฐธรรมนูญ และการรับตั้งครรภ์แทนจะต้องไม่เป็นการกระทำในเชิงการค้าด้วย แม้ว่าในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะห้ามมิให้การรับตั้งครรภ์แทนเป็นไปเพื่อการค้า แต่การห้ามนั้นก็มิได้มีการกำหนดอัตราโทษไว้ว่า ถ้ามีการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว รัฐจะมีมาตรการในการลงโทษเช่นไร รวมถึงปัญหาคุณสมบัติของผู้รับตั้งครรภ์แทน ที่ร่างกำหนดไว้แต่เพียงเป็นหญิงอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีขึ้นไป และมิได้กำหนดว่าจะต้องผ่านการสมรสแล้วหรือไม่ ผู้วิจัยเห็นว่าการที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ ย่อมอาจทำให้ปัญหาได้ ประการแรก บุคคลอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีนั้น ยังคงเป็นผู้เยาว์อยู่ ย่อมไม่อาจทำนิติกรรมโดยลำพังได้ สัญญารับตั้งครรภ์แทนจึงอาจตกเป็นโมฆียะได้ ทั้งการที่กฎหมายอนุญาต ให้สาวโสดที่ยังไม่เคยผ่านการสมรส ย่อมอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพและสังคมต่อหญิงผู้รับครรภ์แทนได้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า คุณสมบัติของผู้รับตั้งครรภ์แทนนั้น จะต้องเป็นหญิงที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และต้องผ่านการมีบุตรมาก่อน ซึ่งอาจจะมีการสมรส หรือไม่ก็ได้ จากปัญหาหลายประการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการสมควรที่ประเทศไทยจะต้องพิจารณาบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการรับตั้งครรภ์แทนโดยเฉพาะ เพื่อรอรับกับความต้องการของประชาชนในการตั้งครรภ์แทนต่อไป และควรมีการแก้ไขบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการรับ ตั้งครรภ์แทน พ.ศ.... เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมถึง รัฐควรมีการออกกฎหมายอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ทั้งหมดเนื่องจากสิ่งเหล่านี้เกี่ยวโยงซึ่งกันและกันเพื่อให้การคุ้มครองปัญหาดังกล่าวสามารถไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 4
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 81 – 91
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9590
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)