รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของภูมิปัญญาท้องถิ่น: ศึกษากรณีการคุ้มครองโดยอาศัยพระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 และกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อเรื่องรอง The Legal Problems of the Local Wisdom Protection: A Case Study on the Protection by Geographical Act B.E 2546 and other relevant Intellectual Property Law
ชื่อผู้แต่ง
1.จิรเดช คัชมาตย์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ทรัพย์สินทางปัญญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- วิจัย
2.การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
3.ลิขสิทธิ์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ จากการศึกษาพบว่า การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น มีความแตกต่างจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นๆ เพราะการมีลักษณะเฉพาะตัว (Sui Generis) ดังนั้นหากรัฐต้องการที่จะทำการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพแล้ว ควรต้องมีการออกกฎหมายที่ทำการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะด้วย อย่างไรก็ตามในร่างพระราชบัญญัติภูมิปัญญาท้องถิ่น พ.ศ.... ยังคงมีปัญหาความไม่ชัดเจนต่างๆ เช่น เงื่อนไขของการได้มาซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น การทับซ้อนของเขตพื้นที่ ปัญหาผู้มีสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่น และปัญหาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น ซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการกำหนดให้ผู้ค้นพบภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยอาจกำหนดไว้ในบทนิยาม และควรมีการกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่าสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มาโดยผลของกฎหมายทันทีที่มีการค้นพบ อีกทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น เป็นสิทธิที่มีความเกาะเกี่ยวกับท้องถิ่น การจะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของสิทธิตลอดไปนั้น อาจกระทบต่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอนาคต สิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงควรเป็นสิทธิเฉพาะตัว และไม่ควรตกทอดไปทางมรดกได้ เมื่อผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตาย ควรให้สิทธิใน ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ตกเป็นสิทธิแก่ท้องถิ่นนั้นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ควรกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ามาทำการเก็บจัดหารวบรวม เพื่อการปรับปรุง ศึกษา ทดลอง หรือวิจัยซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยว่าควรเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น รัฐจึงควรให้มีการจัดตั้งองค์กร หรือหน่วยงานในการกำกับดูแลขึ้นมาต่างหากแยกจากหน่วยงานอื่นโดยอาจให้อยู่ภายใต้สังกัดของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ในกรณีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ(Biological Resource) นั้น ประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) อาจใช้การให้ความยินยอมในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพเป็นเงื่อนไงให้ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ตนต้องการได้อีก ทั้งภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ และจะต้องมีมาตรอื่นๆ ที่ดำเนินการ ควบคู่ไปพร้อมกับการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อป้องกันปัญญาท้องถิ่นสามารถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในที่สุด
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 4
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 71 – 80
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9590
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)