รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สัณฐิตา นุชพิทักษ์ |
2. | กาญจนา แกวเทพ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ละครโทรทัศน์ -- ตัวละคร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยเรื่อง "ความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย ประกอบด้วย การวิเคราะห์ตัวบทจากละครโทรทัศน์ 30 เรื่อง และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ชมละครโทรทัศน์ จำนวน 20 คน เพื่อตอบวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อสำรวจภาพรวมของลักษณะความร้ายกาจของตัวละครเอก ตัวละครร้าย และตัวประกอบในละครโทรทัศน์ไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบความร้ายกาจของตัวละครเอก และตัวละครร้านในละครโทรทัศน์ไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างความเป็นจริงทางสังคมของสื่อละครโทรทัศน์ในความร้ายกาจของตัวละครผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง และ 4) เพื่อสำรวจการรับรู้ และการตีความของผู้ชมต่อความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย โดยผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวละครเอก ตัวละครร้าย และตัวละครประกอบ ล้วนแล้วแต่พบลักษณะ ความร้ายกาจเชิงสัญลักษณ์มากกว่าความร้ายกาจทางกายภาพ 2) ตัวละครเอก และตัวละครร้าย มีทั้งความสอดคล้อง และความแตกต่างในลักษณะความร้ายกาจทางกายภาพ แต่แตกต่างกันบ้างในลักษณะความร้ายกาจเชิงสัญลักษณ์ และแตกต่างกันแบบขาว-ดำ ในระดับของความร้ายกาจ 3) การประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคมเกี่ยวกับความร้ายกาจของตัวละครสามารถสร้างผ่านโครงเรื่อง และวิธีการสร้างตัวละครโดยตัวละครเอกจะปรากฎความร้ายกาจอย่างมี "ที่มา" หรือเหตุบีบคั้นที่เป็นแรงผลักดันให้แสดงความร้ายกาจจากสังคม หรือคนรอบข้าง ซึ่งมักจะเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบเท่านั้น และโดยส่วนมาก ในตอนจบตัวละครเอกจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากร้ายกลายเป็นดี ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวละครร้ายอย่างสิ้นเชิง 4) ผู้ชมที่ "เป็นคอละคร" และผู้ชมที่ "ไม่ได้เป็นคอละคร" ทั้ง 20 คน เห็นความแตกต่างในความร้ายกาจของตัวละครเอก และตัวละครร้าย โดยใช้เกณฑ์เรื่องการแสดงออก และสาเหตุ หรือที่มาของความร้ายกาจของตัวละครมากที่สุด แต่ ผู้ชมที่ "เป็นคอละคร" จะสามารถมองเห็นมิติที่หลากหลายโดยเกิดความเข้าใจในตัวละครมากกว่าผู้ชมที่ "ไม่ได้เป็นคอละคร"
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)