รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การสื่อสารเพื่อจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติในประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พรพจี กาลันสีมา |
2. | เมตตา วิวัฒนานุกุล |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารองค์ความรู้ |
2. | การสื่อสาร |
3. | การสื่อสารในองค์กร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเป้าหมาย และลักษณะการก่อตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of practice) ในองค์กร บทบาทและรูปแบบการสื่อสารของชุมชนนักปฏิบัติในองค์กรรวมถึงปัญหา และอุปสรรคในด้านการสื่อสารการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ พร้อมทั้งค้นหาปัจจัยที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและจัดการความรู้ (Knowledge management) ของชุมชนนักปฏิบัติ โดยการใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทในการจัดการความรู้ขององค์กร 10 ท่านและการแจกแบบสอบถามให้กับสมาชิกชุมชนนักปฏิบัติในองค์กรจำนวน 105ชุด ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุมชนนักปฏิบัติในแระเทศไทยมักเป็นกลุ่มขนาดเล็ก สมาชิกกลุ่มประกอบไปด้วยบุคคลที่ทำงานในองค์กรเดียวกัน โดยเป็นผู้ที่ทำงานร่วมกันอยู่เป็นประจำ มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งชุมชน นักปฏิบัติเพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรในการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตามนโยบายขององค์กร เพื่อตอบสนองพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารบ้านเมืองที่ดีมากกว่าการตั้งชุมชนโดยความต้องการของสมาชิกเอง
2. รูปแบบการสื่อสารการจัดการความรู้ที่พบมากคือ การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) การเรียนรู้จากบทเรียนความผิดพลาด (Lesson Learning) และการสอนงาน (Coaching) ซึ่งสัมพันธ์กับงานในลักษณะการปฏิบัติจริงในพื้นที่จริง ช่องทางการสื่อสารที่ใช้บ่อยคือการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากความสะดวกรวดเร็วและคุ้นเคยในการใช้สื่อ และการประชุมแบบเห็นหน้ากัน เนื่องจากสามารถนำมาผนวกกับการประชุมที่มีเป็นประจะอยู่แล้วได้โดยง่ายทั้งนี้บทบาทการสื่อสารมีสูงมากในด้านการเผยแพร่ ความรู้และการสร้างแรงจูงใจสมาชิก ให้มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้
3. ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากคือ การดำเนินการที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา และการไม่ยอมรับให้ทำกิจกรรมการจัดการความรู้ในเวลางาน รวมไปถึงการขาดทักษะในการสื่อสารโดยเฉพาะกลยุทธ์ในการสร้างสารและเลือกใช้เทคนิคในการถ่ายทอด เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ของสมาชิก
4. ปัจจัยที่สนับสนุนการสื่อสารต่อการจัดการความรู้ ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ลักษณะการทำงานที่เข้าร่วมกิจกรรม การทำตัวเป็นแบบอย่าและมีส่วนร่วมในกิจกรรมจัดการความรู้ของผู้บริหาร
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)