รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาตนเองหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิก
|
ชื่อเรื่องรอง |
A development of enrichment curriculum to promote youth leadership skills in vocational of catholic school
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ภาวะผู้นำ |
2. | ภาวะผู้นำ -- หลักสูตร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อทักษะภาวะผู้นำเยาวชนใน 2) ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม
การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิก ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการประชุมกลุ่มแสดงความคิดเห็นสอดคล้่อง เพื่อกำหนดองค์ประกอบของภาวะผู้นำเยาวชนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศิษย์เก่าที่ทำงานในตำแหน่ง หัวหน้างาน และกลุ่มอาจารย์หัวหน้างานวิชาการและอาจารย์หัวหน้างานภาคี ซึ่งได้ผลสรุปว่ามี 6 องค์ประกอบ ที่หัวหน้านักศึกษาระดับ ปวส. ขาดและควรได้รับการพัฒนา จากนั้นนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างหัวหน้านักศึกษา ระดับ ปวส. จำนวน 512 คน ดำเนินการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ในขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรเสริมเป็นการพัฒนาโครงร่างหลักสูตรเสริมให้เข้ากับข้อมูลพื้นฐาน โดยในหลักสูตรเสริม ประกอบด้วยหลักการและเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตรเสริมแนวคิด ทฤษฎีในการพัฒนา หลักสูตรเสริม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเสริม โครงสร้างของหลักสูตรเสริม ซึ่งหลักสูตรเสริมนี้มี 7 หน่วยใช้เวลาเรียนทั้งหมด 31 ชั่วโมง จากนั้นทำการประเมินโครงร่างหลักสูตรเสริม โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เพื่อหาความคิดเห็นสอดคล้อง
การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ 2 นำโครงร่างหลักสูตรเสริม ที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นหัวหน้านักศึกษา ระดับ ปวส. จำนวน 24 คน ของโรงเรียนดอนบอสโกกรุงเทพฯ รูปแบบการทดลองใช้หลักสูตรเสริมเป็นแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนหลัง และทำการปรับปรุงหลักสูตรเสริมให้สมบูรณ์
ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิกประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ จำนวน 84 ตัวแปรใช้เกณฑ์การคัดเลือกข้อคำถามที่มีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ หรือ มากกว่า 0.5 หลังการหมุนแกน พบว่า มีเพียง 4 องค์ประกอบ 36 ตัวแปรที่จำเป็นในการนำไปพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชน ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 48.43 โดยได้น้ำหนักองค์ประกอบเรียงตามลำดับความสำคัญ คือ การคิดวิเคราะห์ มีค่าน้ำหนักอธิบายความแปรปรวนร้อยละ 14.21 การมอบหมายงาน มีค่าน้ำหนักอธิบายความแปรปรวนร้อยละ 12.33 การนำและทำงานเป็นทีมมีค่าน้ำหนักอธิบายความแปรปรวนร้อยละ 11.03 และการมีเจตคติที่ดีมีค่าน้ำหนักอธิบายความแปรปรวนร้อยละ 10.86 และผลการประเมินโครงร่างหลักสูตรเสริมโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คนพบว่ามีความคิดเห็นสอดคล้องว่าหลักสูตรเสริมฉบับนี้สามารถนำไปทดลองใช้ได้
2. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม พบว่า หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนในโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิก มีผลการประเมินหลังการทดลองหลักสูตรมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผลการประเมินก่อนการทดลองใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ และการประเมินความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของหลักสูตรเสริมโดยหัวหน้านักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการสอน พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากในทุกองค์ประกอบนอกจากนี้ยังพบว่า หลักสูตรเสริมฉบับนี้มีการจัดการเีรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม ระหว่าง ผู้เรียน ผู้ดำเนินการสอน หัวหน้าแผนกช่าง และอาจารย์ที่ปรึกษา ที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเยาวชนของผู้เรียน ให้เกิดการกระทำด้วยตนเองและรู้จักชี้นำตนเองได้ โดยอาศัยกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การตั้งคำถามและการตอบคำถาม การเรียนรู้จากสภาพจริงการแสดงบทบาทสมมุติและการเล่นเกมต่างๆ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)