รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การเชื่อมโยงสื่อเพื่อลดช่องว่างทางดิจิตัล: การเชื่อมโยงสารสนเทศจากอินเตอร์เน็ตสู่วิทยุชุมชน
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ศิวพร ศรีสมัย
2.พิรงรอง รามสูต
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสาร
2.สื่อมวลชน -- การจัดการ
3.วิทยุชุมชน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์3ข้อคือ 1.เพื่อการศึกษาความเป็นไปได้ของสารสนเทศที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ภาครัฐ 5 กระทรวงในการเป็นสารสนเทศจากสื่ออินเทอร์เน็ตสู่วิทยุชุมชนโดยมีผู้จัดรายการเป็นตัวกลางแบบเจาะจง 5 แห่งจากจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน (จวช.) ในเขตภาคเหนือตอนบน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตการณ์มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เพื่อการศึกษาบริบทและสภาพของจวช. สารสนเทศในเว็บไซต์ภาครัฐศึกษาโดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่นำเสนอ บทหน้าโฮมเพจและระบบปฏิสัมพันธ์ของเว็บไซต์การศึกษาในลำดับสุดท้ายใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตสู่วิทยุชุมชนโดยคัดเลือก จวช.2 แห่งคือ จวช.เพื่อคนชุมชนบ้านแม่ฮัก เป็นตัวแทนจวช.เชิงประเด็น ผลการวิจัยพบว่า วิทยุชุมชนที่ศึกษาทั้ง 5 แห่งหลังจากดำเนินการแล้ว 3-5 ปี ความหลากหลายของรายการวิทยุได้ลดลง ขณะที่ทำวิจัยพบรายการที่หายไปเป็นรายการที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น การเมือง การอภิปรายประเด็นร้อนการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นอจากนี้ยังพบปัญหา อื่นๆ เช่น กลุ่มผู้บริหารและจัดรายการเกิดความขัดแย้งกันเองด้านหลักการของวิทยุชุมชนโดยเฉพาะประเด็นควรเปิดรับโฆษณาหรือไม่ ปัญหาอุปกรณ์ห้องส่งเริ่มเสื่อมสภาพ ขาดทุนทรัพย์ และขาดการมีส่วนร่วมของผู้ฟัง แม้ว่าจากผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะพบว่าผู้จัดรายการวิทยุชุมชนมีศักยภาพที่จะเชื่อมโยงสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตสู่รายการวิทยุชุมชน แต่ในระยะยาวการเชื่อมโยงสื่ออาจไม่มีความต่อเนื่องด้วยสาเหตุที่วิทยุชุมชนถูกใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าการแลกเปลี่ยนสารสนเทศตามหลักการวิทยุชุมชน ผู้จัดรายการสูงอายุขาดทักษะทางเทคโนโลยีและวิตกในภาพลักษณ์ของตนเองหากจะต้องเรียนรู้ทักษะด้านสารสนเทศ นอกจากนั้นผู้จัดรายการส่วนใหญ่นิยามสารสนเทศต่างจากบรรทัดฐานสารสนเทศสำหรับวิทยุชุมชน ในขณะเดียวกัน ปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองมีผลต่อการเชื่อมโยงสารสนเทศเช่นกัน การอนุญาตให้วิทยุชุมชนมีโฆษณาได้ไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง ในปี พ.ศ.2547 ทำให้เกิดความสับสนด้านแนวคิดวิทยุชุมชนเพิ่มมากขึ้น ท้ายที่สุดการระงับการส่งกระจายเสียงชั่วคราวติดตามด้วยการออกข้อกำหนด เพื่อควบคุมเนื้อหาของคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในปี พ.ศ.2549 ทำให้สถานีวิทยุชุมชนซึ่งดำเนินการโดยชาวบ้านหลีกเลี่ยงการนำเสนอเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเพื่อป้องกันการถูกคุกคามจากอำนาจรัฐและการเมือง
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 10 - 30
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)