รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
|
ชื่อเรื่องรอง |
Factors affecting the academic achievement of sciences subject of students in grade 6 at the demonstration schools under the jurisdiction of the office of higher education commission, The ministry of education
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน |
2. | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- การวัดผล |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระว่างปัจจัยด้ายโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 2.เพื่อศึกษาอิทธิพลปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนัดเรียนละ 3.เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครับ และด้านตัวนักเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนและ 3.เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้ายโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีกี่ศึกษา 2553 โรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 352 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบ ด้วยตัวแปรแฝงภายนอก2ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านครอบครัว และตัวแปรแฝงภายใน1ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านตัวนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรม LISREL8.72 ในการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้แก่ ปัจจัยด้านตัวนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย 1.เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ 2.แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ3.การทำการบ้านของนักเรียนส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย 1.คุณภาพการสอนของครู 2. ความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารและ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและปัจจัยด้านครอบครัวประกอบด้วย 1.การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครองและ 2.ความสัมพันธ์ภายในของครอบครัวซึ่งการทดสอบความสอดคล้อง อาจารย์โรงเรียนสาธิต พิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัยบูรพา ของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียนเอง กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี พิจารณาจากค่า x 2 เท่ากับ 16.076,ค่า p-Value เท่ากับ 0.309 ที่องศาความเป็นอิสระ เท่ากับ 14, ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (x2/df) เท่ากับ 1.148.ค่า GFI เท่ากับ 0.990 ,ค่าAGFI เท่ากับ 0.018 . ค่าRMSEA เท่ากับ 0.021. ค่า CFT เท่ากับ 0.999, ค่า NFI เท่ากับ 0.996 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ตัวแปรตาม มีค่าเท่ากับ 0.906 นั่นคือ ปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ร้อยละ 90.60
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)