รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม: การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องรอง Cultural resource management : Mural painting conservation in the Eastern of Thailand
ชื่อผู้แต่ง
1.พรรณวลัย คีรีวงศ์วัฒนา
2.สมหมาย แจ่มกระจ่าง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.จิตรกรรมฝาผนัง -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
2.จิตรกรรมฝาผนังไทย -- การอนุรักษ์และบำรุงรักษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับการเห็นคุณค่าของจิตรกรรมฝาผนังและระดับการมีส่วนน่วมของประชาชนในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก 2. ศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายชุนที่มีการเห็นคุณค่าและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม: การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออกและ 3. สังเคราะห์แนวทางการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมขององค์กรครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม(Discriminant Analysis) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์บุคคลในองค์กรเครือข่ายในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก จำนวน 44 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการเห็นคุณค่าของจิตรกรรมฝาผนังของประชาชนในจังหวัดภาคตะวันออกอยู่ในระดับ ปานกลาง ระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังอยู่ในระดับน้อยในมิติคุณค่าที่แสดงนัยของอดีตและ การัดสินใจของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงแหล่งจิตรกรรมฝาผนังกลุ่มที่เห็นคุณค่า และกลุ่มที่ไม่เห็นคุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนคุณคาทางวิชาการ คุณค่าความงาม คุณค่าทางเศรษฐศาสตร์และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. การมีส่วนร่วมขององค์กรครือข่ายชุมชนในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม: การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก 1. การาวงแผนชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังส่วนใหญ่จะปล่อยให้เสื่อมโทรมไปตามสภาพ เห็นจิตรกรรมฝาผนังเป็นสัญลักษณ์ของอดีต แต่มิได้นำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ให้คุณค่าในฐานะที่เป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์ 2. การจัดองค์การ: เจ้าอาวาสวัดกรรมการวัดจะได้รับความไว้วางใจให้ตัดสินเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังส่วนใหญ่มักจะคงสภาพเดิมไว้ เนื่องจากองค์กรในระดับท้องถิ่น ยังขาดความพร้อมของบุคลากรในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม 3. การควบคุม: สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม และสร้างครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพของกลุ่มและผู้นำกลุ่มชุมชนที่มีความแข็งแรงในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม 3. แนวทางการจัดการและอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก 1. ส่งเสริมให้ชุมชนมีความพร้อมในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม โดยการสรรงบประมาณและสนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนในการอนุรักษ์ศิลปกรรมในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ในด้านการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม 2.. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนรับผิดชอบการดำเนินงานวัฒนธรรมของชุมชนเอง โดยฝึกอบรมเพื่อให้สามารถดำเนินการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเท่าที่สามารถทำได้ 3. สนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัยองค์ความรู้จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันออก เพื่อเป็นฐานความรู้และเผยแพร่สู่ชุมชน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม
ปีที่ 8
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 33-46
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-2693
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)