รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานครูในสถานศึกษาที่ถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนถิ่นในภาคตะวันออก
|
ชื่อเรื่องรอง |
Factors Affecting the Performance Perceived by Teachers in the educational institutions transference for local administrative organization in the eastern region
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | อมรเทพ คำเพชร |
2. | จันทร์ชลี มาพุทธ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ครู -- การทำงาน -- การติดตามผล |
2. | ครู -- การประเมินผล -- วิจัย |
3. | ครู -- ความพอใจในการทำงาน |
4. | ครู -- การย้าย -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานครูในสถานศึกษาที่ทำการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานครูในสถานศึกษาที่ทำการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองแบบท้องถิ่นในภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่างคือ ครูจำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X?) ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานครูในสถานศึกษาที่ทำการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยการรับรู้ในบทบาท ปัจจัยด้านจิตวิสัย และลำดับสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ
2. ระดับการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานครูในสถานศึกษาที่ทำการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านงานวิชาการ ด้านงานบริหารทั่วไป ด้านงบประมาณ และลำดับสุดท้ายคือ ด้านงานบริหารงานบุคคล
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานครูในสถานศึกษาที่ทำการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ในบทบาท ปัจจัยความเชื่อถือระหว่างบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านภาวะผู้นำ โดยมีค่าพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 18.60ได้สมการดังนี้ ?=3.209+0.352(X6)+0.118(X5)+0.102(X3)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)