รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง พฤติกรรมการดื่มสุราของสตรี ในเขตอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาปี 2554
ชื่อเรื่องรอง Alcohol Drinking of Behavior o women living in Amphur Pakthongchai, Nakhonratchasima province in 2011
ชื่อผู้แต่ง
1.ดรุณี คุณวัฒนา
2.ศรีวรรณ ยอดนิล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.สตรี -- การดื่มสุรา -- พฤติกรรม
2.การดื่มสุรา -- พฤติกรรม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การสำรวจครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุราของสตรีในอำเภอปักธงชัยสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาการดื่มสุราของสตรีโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มสตรีระหว่าง 12-65 ปีจากตำบลธงชัยเหนือที่ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 385 ชุด ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม 2554 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 41.1 ของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 36.9 จบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 42.3 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 62.9 และร้อยละ 14.5 เป็นหม้าย อย่าร้างร้อยละ 71.1 อยู่กับครอบครัวที่มีสมาชิก 4-6 คน สตีส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทใดๆในสังคม รายได้เพียงพอร้อยละ 66 มีประสบการณ์ดื่มสุราร้อยละ 42.1 และเริ่มดื่มในกลุ่มอายุ 25 ปีขึ้นไป ร้อยละ 42 ส่วนอายุตำสุดที่เริ่มดื่มคือ 13 ปี สตรีส่วนมากดื่มเป็นร้อยละ 40.7ดื่มร่วมกับเพื่อนร้อยละ 77.2 มักดื่มที่บ้านตนเองและบ้านเพื่อน ร้อยละ 25.9 จะดื่มช่วงเย็นถึงค่ำมากที่สุดร้อยละ 81.4 ในปัจจุบันพบว่าสตรียังคงดื่มสุราร้อยละ 77.9 ค่าใช้จ่ายในการดื่มสุราครั้งละไม่เกิน 150บาทร้อยละ 76.4 เดือนละไม่เกิน 800 บาทร้อยละ 74 ร้อยละ 30.7 ดื่มสุรานานกว่า20ปี ดื่มไท้เกิน 5 ปี และไม่เกิน10ปี ร้อยละ 21.3 และ20.5 ตามละดับ พฤติกรรมการดื่มอยู่ในระดับเสี่ยงและสี่ยงสูงเท่ากับร้อยละ 45.7 ส่วนระดับติดและอันตรายร้อยละ 7.1 และ1.6 ตามลำดับ พบว่ามีคนใกล้ชิดทั้งที่อยู่และไม่อยู่ครอบครัวดื่มสุราร้อยละ 36.9 และ39.7 ตามลำดับ พฤติกรรมของคนในครอบครัวหลังดื่มสุราคือ ทำลายข้าวของร้อยละ 43.9 ส่วนพฤติกรรมของคนใกล้ชิดที่ไม่อยู่นครอบครัวหลังดื่มสุราคือ อารมณ์ดีและสนุกสนานร้อยละ 47.1 ร้านค้าทั้งในและนอกชุมชน เป็นแหล่งที่หาซื้อสุราได้มากที่สุดร้อยละ 79.5 และ57.1 ตามลำดับ วิธีการเดินทางหาซื้อในชุมชนคือ เดินร้อยละ 21.8 ส่วนนอกชุมชนจะใช้จักรยายยนต์ร้อยละ 22.9 ไปหาซื้อเองร้อยละ 26.8 และสามารถซื้อได้ตลอดเวลาร้อยละ 8.6 การรับรู้ถึงผล กระทบจากการดื่มสุราระดับดีมากร้อยละ 40.0 แต่ค่านิยมของการใช้สุราในชุมชนอยู่ในระดับสูงถึงสูงมากร้อยละ 69.9 สื่อและโฆษณาต่างๆ มีผลต่อความรู้สึกอยากดื่มร้อยละ 55 จะเห็นได้ว่าสตรีที่มีประสบการณ์ดื่มสุราส่วนมากยังคงการดื่ม แต่ดื่มอยู่ในระดับความเสี่ยงไม่สูงมากนัก และเมื่อดื่มเป็นเวลานาน จะกลายผู้ติดสุรา ซึ่งใช้สุราเพื่อการฉลองในโอกาสสำคัญและงานสังสรรค์รื่นเริง และยังมีบุคคล ใกล้ชิดดื่มสุรา ถึงแม้จะรับรู้ถึงผลกระทบจากการดื่มสุราแต่ก็ยังคงให้คุณค่ากับการดื่มสุรามาก อีกทังการตลาดของผู้ผลิตทำให้สุราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ข้อเสนอแนะจึงจำเป็นต้องสร้างสิ่งทดแทนและค่านิยมในการสร้างสุขแทนการใช้สุรา รวมถึงเพิ่มมาตรการการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการจำหน่ายสุราและการโฆษณาอย่างจริงจัง
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม
ปีที่ 7
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 42-57
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-2693
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)