รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร
|
ชื่อเรื่องรอง |
Improving Bangkok Construction Laborers Quality of lift
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ประกาย หร่ายลอย |
2. | สมหมาย แจ่มกระจ่าง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | คุณภาพชีวิตการทำงาน -- วิจัย |
2. | คุณภาพชีวิต |
3. | แรงงาน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ละคุณภาพชีวิตของประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชากรแฝง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดนศึกษากับ ประชากรกลุ่มแฝง
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตของประชากรแฝง ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาภาคตะวันแกเฉียงเหนือ มีเหตุผลในการย้ายถิ่น คือ การขาดทุนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่พึงพอใจต่อสุขภาพของตนเอง มีปัญหาด้านสุขภาพบ้างแต่ไม่บ่อยนัก บางส่วนมีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการรักษาเป็นประจำ สภาพในการดำเนินชีวิตและการทำงาน บางส่วนมีความรักและผูกพันกับที่ทำงาน แม้ว่าจะทำงานหนักแต่ก็รักอาชีพก่อสร้าง และเห็นว่าอาชีพก่อสร้างสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ส่วนหนึ่งมีความผูกพันกับนายจ้าง ในขณะที่บางส่วนมีหัวหน้าที่เข้มงวด ใช้งานหนักและถูกเอาเปรียบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความเข้าใจกันดี ทำงานโดนไม่มีความเครียด แต่บางส่วนมีสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานดี มีเพียงจำนวนหนึ่งที่เคยทะเลาะกันบ้าง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการดื่มสุรา เล่นการพนัน และการยืมเงิน สภาพที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อม มีทังผู้ที่มีความพึงพอใจ และผู้ที่ต้องการปรับปรุง ส่วนใหญ่พอใจกับสิ่งอำนวยสะดวก เช่น น้ำดื่ม น้ำประปา ไฟฟ้า ที่พักผ่อนหย่อนใจ และที่ออกกำลังกาย
2. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง ในระยะแรกควรเริ่มจากระดับมหภาคใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านกฎหมายแรงงาน รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดโดยด่วน 2.ด้านการบริหารจัดการคุณภาพชีวิต ควรจัดงบประมาณให้
กรุงเทพมหานครสามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างได้โดยตรงและมีการกำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม 3.ด้านการศึกษา ควรเพิ่มความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เพื่อให้กลุ่มผู้ ใช้แรงงานก่อสร้างได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง และเพิ่มสถานที่ฝึกอบรมให้กับประชากรกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างเพื่อได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ4.ด้านสังคมและสภาพแวดล้อม รัฐบาลควรสร้างความเข้าใจให้แก่แรงงานก่อสร้างเพื่อให้แรงงานได้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อสังคม
ในระดับปัจเจกบุคคล แบ่งเป็น 2 ด้านที่เป็นแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ได้แก่ 1.ด้านสุขภาพร่างกายควรให้แรงงานดูแลสุขภาพตนเอง และมีการดูแลสุขภาพร่างกายจากหน่วยงานภายนอก และ 2.ด้านจิตใจ นายจ้างควรจัดกิจกรรมให้กับผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง เพื่อลดความเครียดและเพิ่มความสุขในการทำงาน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)