รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การแก้ปัญหาเชิงประดิษฐกรรม
ชื่อเรื่องรอง TRIZ: theory of Inventive Problem Solving
ชื่อผู้แต่ง
1.วรมน แซ่ฉี
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.สิ่งประดิษฐ์
2.ประดิษฐกรรม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การแก้ปัญหา เป็นกิจกรรมในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะจะแก้ปัญหาโดยอาศัยประสบการณ์ และความถนัดของตนเป็นหลัก แต่เมื่อเจอปัญหารูปแบบใหม่ก็มักจัดการกับปัญหานั้นๆ ไม่ได้ และจะยังมีปัญหาเดิม นั้นกลับเขามาอีก TRIZ (Akay, Demiray&Kurt, 2008) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ นักประดิษฐ์ประหยัดเวลาในการแก้ปัญหาที่มีผู้คิดค้นหรือเคยประสบมาก่อนแล้ว เป็นหลักในการคิดค้นและออกแบบประดิษฐกรรมสำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่พบในทางอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความเป็นอุดมคติ (Ideality) และลดการใช้ทรัพยากร (Resources) ซึ่งมีข้อจำกัดของความขัดแย้ง (Contradiction) ของตัวแปรต่างๆโดย TRIZ มีแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ ระดับขั้นของนวัตกรรม (Levels of innovation) 5 ระดับ แต่โดยทั่วไป สิ่งประดิษฐ์กว่า 77% ของสิทธิบัตรจัดอยู่ในระดับ นวัตกรรมที่ 1 และ 2 เท่านั้น TRIZ จะช่วยให้นักประดิษฐ์ยกระดับการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐกรรมให้ขึ้นมาอยู่ในระดับที่ 3 และ 4 ได้ การแก้ปัญหาโดยการใช้ TRIZ เริ่มจากการค้นหาหรือระบุปัญหา จากนั้นจึงระบุตัวแปรหรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น แล้วจริงใช้หลักการพื้นฐานของ TRIZ แก้ไขปัญหานั้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 5
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 6 – 12
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9590
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)