รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง คำเมือง – ลาว ภาษาและวัฒนธรรมพี่น้อง
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.อัจฉราภรณ์ จันทร์สว่าง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ภาษาไทยถิ่นอีสาน
2.ภาษาล้านนา
3.ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ท้องถิ่นภาคเหนือกับท้องถิ่นภาคอีสานมีความคล้ายคลึงกันทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ทางด้านภาษานั้นพบว่ามีเสียงพยัญชนะบางเสียงใช้ร่วมกัน คือจะไม่มีเสียง/ช/กับ/ร/ แต่จะออกเสียงเป็น/จ/หรือ/ช/แทน/ช/และออกเสียง/ฮ/แทน/ร/ ทั้งสอถิ่นไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำบางเสียงเหมือนกับภาษากลางและคำบางคำในภาษาถิ่นเหนือกับภาษาถิ่นอีสานมีความหมายเหมือนกันหรือสามารถใช้แทนกันได้ และมีเสียงวรรณยุกต์จำนวน 6 หน่วย เสียงเท่ากัน ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีนั้นก็มีความใกล้เคียงกันคือ ทั้งสองท้องถิ่นมีพิธีเรียกขวัญซึ่งภาคเหนือเรียกว่า “สู่ขวัญ”ส่วนภาคอีสานเรียกว่า “สูดขวัญ”โดยพิธีนี้มีความเชื่อพื้นฐานเดียวกันคือให้ความสำคัญกับ “ขวัญ” ที่อยู่ติดตัวคนมาตั้งแต่เกิด ดังนั้นลักษณะของพิธีกรรมจึงคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่เหมือนกันอีกประเพณีหนึ่งคือประเพณีเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวที่ภาคเหนือเรียกว่า ”อู้บ่าวอู้สาว” ส่วนภาคอีสานเรียกว่า “ผญาเกี้ยว” ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการใช้ภาษาโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง แต่สิ่งที่สอดแทรกในประเพณีคือมาตรการที่ต้องการให้หนุ่มสาวประพฤติอยู่ในกรอบของสังคม หากผู้ใดสัมผัสลุล่วงเกินกันจะถูกบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วลงโทษ จะเห็นว่าสองภูมิภาคมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจนแยกกันไม่ออกกลายเป็นภาษาพี่น้องและวัฒนธรรมพี่น้องที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจโดยถ่องแท้โดยไม่ต้องคาดเดา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 5
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 38 – 45
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6203
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)