รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลพนักงานตามความสมัครใจ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สิรินทร์ ศรมงคลพิทักษ์ |
2. | มนวิกา ผดุงสิทธิ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี |
2. | ทรัพยากรมนุษย์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge based Economy) ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวทรัพยากรมนุษย์จัดเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีความสำคัญ ส่วนสินทรัพย์ที่มีตัวตนและความสัมพันธ์ต่างๆ ทางธุรกิจเป็นผลพวงมาจากการกระทำของตน ซึ่งสินทรัพย์ต่างๆ เหล่านี้จะยั่งยืนหรือไม่ขึ้นอยู่กับบุคลากร แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Accounting: HRA) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบัญชีสำหรับผู้บริหารและพนักงานขององค์กรในฐานะที่เป็นทรัพยากรประเภททุนมนุษย์ (Human Capital) ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต จึงมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการเปิดเผยข้อมูลพนักงานตามความสมัครใจในรายงานทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์ (Human Capital) กับผลการดำเนินงานของกิจการซึ่งชี้วัดโดย Tobin’s Q และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on asset: ROA) โดยจำกัดขอบเขตประชากรเป้าหมายเป็นอุตสาหกรรมบริการอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เนื่องจากผลการสำรวจของ Sveiby (1995) พบว่า เป็นอุตสาหรรมที่มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น และเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ในการศึกษาจากรายงานที่เกี่ยวข้องปี พ.ศ.2552 ซึ่งมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 131 บริษัท ผลจากการวิจัยพบว่า มีปัจจัยที่ศึกษาเพียงปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับระดับการเปิดเผยข้อมูลพนักงานตามความสมัครใจ นั่นคือ ขนาดของบริษัท ส่วนปัจจัยโครงสร้างทุน ทุนมนุษย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และประเภทของอุตสาหกรรม ไม่พบหลักฐานว่ามีความสัมพันธ์กับระดับการเปิดเผยข้อมูลพนักงานตามความสมัครใจ ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์กับผลการดำเนินงานกลับไม่พบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างทุนมนุษย์กับ Tobin’s Q
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)