รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลกระทบของการนำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์ของพนักงานมาใช้กับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2554
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วรศักดิ์ ทมมานนท์ |
2. | วิภาดา ตันติประภา |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี -- มาตรฐาน -- ไทย -- วิจัย |
2. | งบการเงิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์พนักงานโดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2554 เป็นครั้งแรกโดยมีมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายและประมาณการหนี้สินที่เกี่ยวข้องในงวดที่เกิดค่าใช้จ่ายทันทีซึ่งทำให้กิจการยังไม่เคยรับรู้รายการดังกล่าว ต้องมีการปรับย้อนหลังในงบการเงิน อย่างไรก็ตามสภาวิชาชีพ ได้มีทางเลือก4 ทางเลือกให้กิจการ คือ 1. รับรู้โดยทันทีเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน 2. รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่นำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาใช้ 3. รับรู้โดยปรับกับกำไรสะสมต้นงวดของปี พ.ศ.2554 4. รับรู้โดยใช้วิธีปรับย้อนหลัง งานวิจัยนี้ศึกษาจากกลุ่มบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 544 แห่ง จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่ามีบริษัทที่นำมาตรฐานฉบับนี้มาใช้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้แยกเป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET50 จำนวน 14 บริษัท (คิดเป็นร้อยละ 28 ) บริษัทจดทะเบียนนอกกลุ่ม SET50 แต่อยู่ในกลุ่ม SET100 จำนวน 18 บริษัท (คิดเป็นร้อยละ 5.57) และบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง (mai) จำนวน 1 บริษัท (คิดเป็นร้อยละ 1.54) หลังการประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 กลุ่มบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่เลือกทางเลือกที่จะปรับกับกำไรสะสม ณ วันต้นงวด (1 มกราคม พ.ศ.2554) มากที่สุด (ร้อยละ 72.19) รองลงมาเป็นวิธีรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายใน 5 ปี (ร้อยละ 12.36)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)