รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การหลีกเลี่ยงการชนกันของดาวเทียมธีออสและวัตถุอวกาศ
ชื่อเรื่องรอง The Satellite Collision Avoidance Strategy for THEOS Satellite
ชื่อผู้แต่ง
1.อัมรินทร์ พิมพ์หนู
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ดาวเทียมธีออส
หัวเรื่องควบคุม
1.ดาวเทียม
2.ดาวเทียม -- วงโคจร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีวัตถุอวกาศ (Space object) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เพิ่มความน่าจะเป็นของการเกิดการชนกันของวัตถุอวกาศ เช่น การชนกันระหว่างขยะอวกาศกับดาวเทียม และการชนกันระหว่างดาวเทียมกับดาวเทียม เราสามารถใช้ซอฟแวร์ในการคำนวณวงโคจรของดาวเทียมและการทำนายพิกัดตำแหน่งของดาวเทียม ซึ่งโอกาสที่จะพลาดนั้นมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามการหลีกเลี่ยงการชนกันของดาวเทียมนั้นมีความเสี่ยงมาก ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการชนกันของดาวเทียมนั้นจำเป็นต้องเตรียมแผนการณ์ไว้อย่างดี แต่ในทางปฏิบัติแล้วการยากมากที่จะสามารถระบุได้ว่าวัตถุอวกาศนั้นเป็นวัตถุประเภทไหนและมาในทิศทางใด ดาวเทียมTHEOS เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทยซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีอวกาศ รวมไปถึง การศึกษาทางด้านอวกาศสำหรับคนไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันไม่ให้ดาวเทียมได้รับความเสียหาย องค์กร The United States Joint Space Operation Center (JSpOC) และ Center for Space Standards & Innovation (CSSI) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลและตรวจตราทางอวกาศ จะมีหน้าที่ส่งข้อมูลแจ้งเตือนการชนกันระหว่างดาวเทียมและวัตถุอวกาศ ซึ่งจะระบุเวลาที่วัตถุอวกาศเข้าใกล้มากที่สุด (Time of Closest Approach: TCA) แจ้งไปยังประเทศต่างๆ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงและพัฒนาวิธีการหลีกเลี่ยงการชนกันของดาวเทียมธีออส ซึ่งต้องปฏิบัติตามกระบวนการหลีกเลี่ยงการชนกันของดาวเทียมดังกล่าวรวมไปถึงกระบวนการปรับวงโคจรดาวเทียม(Orbit Control Maneuver: OCM) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนด้วยกระบวนการหลีกเลี่ยงการชนกันของดาวเทียมไปประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย 1.การวิเคราะห์คำเตือนจากทาง JSpOC และ CSSI ซึ่งจะเป็นการคำนวณความน่าจะเป็นของการเกิดการชนกันของดาวเทียมโดยใช้รายละเอียดของข้อมูลที่ได้จาก JSpOC และ CSSI 2.การประเมินความเสี่ยงของการปรับความเสี่ยงของการปรับวงโคจรเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันระหว่างดาวเทียมและวัตถุอวกาศ (Collision avoidance maneuver) จากกระบวนการซึ่งได้รับความร่วมมือจากวิศวกร ASTRIUM 3.ทดสอบการส่งแผนการปรับวงโคจรกับ ระบบจำลองดาวเทียม (Satellite simulator) ในขณะเดียวกันข้อมูลตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมธีออส (THEOS Ephemeris) จะถูกส่งไปยัง JSpOC และ CSSI เพื่อทำการตรวจสอบผลของการทำ Collision avoidance maneuver จากนั้นแผนการปรับวงโคจร ดังกล่าวจะถูกส่งขึ้นไปยังดาวเทียม 4.ตรวจสอบผลการประสิทธิของการปรับวงโคจรและปรับปรุงการตั้งค่าของดาวเทียมใหม่ โดยวิศวกรฝ่ายวิเคราะห์วงโคจรและวัตถุอวกาศของดาวเทียมธีออส(OSpA engineer) จะตรวจสอบผลดังกล่าวและทำการทำนายวงโคจรล่วงหน้าต่อไป อย่างไรก็ตามกระบวนการเหล่านี้จะเสร็จสมบูรณ์ได้โดยใช้ความเชี่ยวชาญและ ความรอบคอบ เพื่อให้ใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนอย่างเหมาะสมเนื่องจากเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่ออายุการใช้งานของดาวเทียมธีออส
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปีที่ 12
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 27 – 37
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-4261
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)