รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การศึกษาเรขาคณิตของกล้องถ่ายภาพพานอรามา
ชื่อเรื่องรอง A Geometric Study of Panoramic Camera System
ชื่อผู้แต่ง
1.ธนรัตน์ มิตรยอดวงศ์
2.ไพศาล สันติธรรมนนท์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.กล้องถ่ายภาพพานอรามา
หัวเรื่องควบคุม
1.กล้องถ่ายรูป
2.การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
3.การรังวัด
คำอธิบาย / บทคัดย่อ กล้องถ่ายภาพทั่วไปจะมีข้อจำกัดที่สำคัญคือ มีมุมรับภาพแคบ ปัญหานี้สามารถแก้ไขโดยการใช้กล้องถ่ายภาพพานอรามา ซึ่งเป็นกล้องที่สามารถถ่ายได้รอบทิศทางในการถ่ายภาพครั้งเดียว ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ภาพพานอรามา คือ ภาพที่ถ่ายหรือบันทึกในมุมมองที่กว้างกว่าภาพปกติ จึงสมารถบรรจุข้อมูลของภูมิประเทศได้มาก ทำให้เข้าใจหรือจินตนากาถึงสภาพภูมิประเทศที่ภาพนั้นถูกบันทึกได้โดยง่าย ในการศึกษาเรขาคณิตของกล้องถ่ายภาพพานอรามานี้ จะนำไปสู่กาพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับการรังวัดบนภาพพานอรามา และการประยุกต์ใช้ในการรังวัดจากภาพพานอรามาภาพเดี่ยวสามารถหาพิกัด และวัดความสูงของวัตถุภายในภาพได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ในงานวิจัยนี้ยังได้ทำการทดสอบแบบจำลองในสถานที่ทดสอบ และกำหนดขนาดของข้อมูลทดสอบ ดังนี้ ข้อมูลที่มีรัศมีประมาณ 1-2 เมตร และข้อมูลที่มีรัศมีประมาณ 10-15 เมตร ซึ่งได้ผลดังนี้ ข้อมูลที่มีรัศมีประมาณ 1-2 เมตร มี RMSEx = 3.47 จุดภาพ และ RMSEy = 0.47 จุดภาพ ส่วนข้อมูลที่มีรัศมีมีประมาณ 10-15 เมตร มี RMSEx = 0.98 จุดภาพ และ RMSEy = 0.87 จุดภาพ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปีที่ 12
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 15-22
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-4261
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)