รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินผลของความเป็นเมืองที่มีต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในแอ่งเชียงใหม่- ลำพูน
|
ชื่อเรื่องรอง |
Assessment of the Impacts of Urbanization on Environmental Quality in the Chiang Mai-Lamphun Valley
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สมพร สง่าวงศ์ |
2. | นภดล โคว้สุวรรณ์ |
3. | พิริยะ สะสม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล -- ไทย -- ลำพูน -- วิจัย |
2. | การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล -- ไทย -- เชียงใหม่ -- วิจัย |
3. | คุณภาพสิ่งแวดล้อม -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
เมืองเชียงใหม่ มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและมีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความเชื่อมโยงระหว่างเมืองเชียงใหม่ กับเมืองลำพูนทั้ง ทางด้านพื้นที่และด้านเศรษฐกิจโดยโครงข่ายการคมนาคม ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดเป็นเมืองคู่แฝดขึ้นมาในอนาคตอันใกล้นี้ กระบวนการกลายเป็นเมืองสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น การลดของพื้นที่เกษตรกรรม และการเสื่อมโทรมของคุณภาพ น้ำ อากาศ และดิน บทความนี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลอง SLEUTH เพื่อศึกษารูปแบบและแนวโน้มการขยายตัวของพื้นที่เมืองและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณโดยรอบผังเมืองเชียงใหม่และเขต
ผังเมืองรวมลำพูนและยังได้ศึกษาผลกระทบของความเป็นเมืองที่มีต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมโดยการ วิเคราะห์ดัชนีคุณภาพของสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality Index: EQI) ระหว่างปี พ.ศ 2543-2573 ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เมืองมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดช่วงเวลาทำการศึกษา ผลการปรับปรุงแบบจำลองแสดงว่า รูปแบบการเจริญเติบโตของเมืองมีลักษณะเป็นแบบศูนย์กลางเดิม และเป็นแบบขยายตัวไปตามส้นทางคมนาคมหลัก ค่าความลาดชันของเมืองเชียงใหม่มีการปรับตัวต่ำต่ำลงในขณะที่ค่าความลาดชันของลำพูน มีค่าสูงขึ้น ในการปรับปรุงแบบจำลอง แสดงว่า
การขยายตัวของลำพูน ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกมากโดยมีความลาดชันเป็นปัจจัยควบคุม สำหรับผลการประเมินผลกระทบของกระบวนการกลายเป็นเมืองที่มีต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยใช้ค่า EQI ในระหว่างปี พ.ศ 2543 – 2573
พบว่าค่า EQI ของลำพูนค่อนข้างคงที่และปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนของเมืองเชียงใหม่ EQI มีแนวโน้มลดลงตลอดช่วงการศึกษา
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)