รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
ชื่อเรื่องรอง Application of Geoinformations Technology to Determining Areas at Risk of Encroachent of Agriculture on Forest Reserve in Phu Luang Wildlife Sanctuary, Loei Province
ชื่อผู้แต่ง
1.ภัทรพร พิมดี
2.รัศมี สุวรรณวีระกำธร
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ภูมิสารสนเทศ
2.ป่าไม้ -- ไทย -- เลย
3.การบุกรุก -- ไทย -- เลย
4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
5.การใช้ที่ดิน -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล -- ไทย -- เลย
6.ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ จากการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้มีความต้องการขยายพื้นที่ทำกิน และก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวงจะมีการควบคุมและบังคับใช้มาตรการป้องกันเพื่อลดการบุกรุกป่าไม้อย่างเคร่งครัด แต่การยึดครองพื้นที่ทำกินที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายยังคงก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายช่วงเวลาเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมจากปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจและ สังคม พื้นที่ศึกษา คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวงและระยะกันชน 2 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1, 299 ตารางกิโลเมตร ของจังหวัดเลยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม LANSAT 4 ช่วงเวลา ในปี พ.ศ. 2537, 2541, 2544, 2548 และภาพถ่ายดาวเทียม THEOS 2 ช่วงเวลา ในปี พ.ศ. 2553 ถูกนำมาใช้ผลิตแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินหลายช่วงเวลาในพื้นที่ศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมเบื้องต้นเริ่มจากการปรับแก้ความถูกต้องของพิกัดตำแหน่ง การเน้นและการเชื่อมต่อข้อมูลภาพ แล้วทำการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินโดยแปลตีความภาพถ่ายสีผสมเท็จ แผนที่การใช้ที่ดินหลายช่วงเวลา ถูกนำมาซ้อนทับกันโดยระบบสารสนเทศภูมิสาสตร์ เพื่อทำการวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิเคราะห์น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยกายภาพ(ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน ระยะห่างจากทางน้ำ ความสูงจากระดับนำทะเลปานกลาง และความลาดเอียงของพื้นที่) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงของปัจจัย (BRF) และความสอดคล้องของข้อมูล (CV) ค่าน้ำหนักของ (CV) ที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นทีเกษตรกรรมด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักแบบง่าย (SAW) ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ว่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ถือครองด้านเกษตรกรรมจากการเก็บข้อมูลของครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ด้วยสมการการถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษา พบว่า มีพื้นที่ป่าไม้ 51.55, 47.47, 46.75, 45 .67 และ 45.04 % ในปี 2537 , 2541, 2544, 2548, และ 2553 ตามลำดับ พื้นที่เสี่ยงต่อ การบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกร รวมคิดเป็น 23.49, 26.30, 30.15, 11.80 และ 8.26 % ตามลำดับ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ถือครองด้านเกษตรกรรม ได้แก่ อาชีพหลัก(X2) รายได้สุทธิมากกว่า 60,000 บาท/ปี (X7) เอกสารสิทธิถือครอง (X10) และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้(X13) ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ใน การจัดการและสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวงและพื้นที่อื่นๆ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปีที่ 12
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 43 - 68
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-4261
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)