รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาและบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อการบริหารจัดการพิบัติภัยดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลากอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี ภาคตะวันตกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง Integration and Development of Spatial Data for Community Participation in Landslide and Flash Flood Hazard Management inn Huay Thap Sa Lao Sup-Watershed, Changwat Uthai ,Westherm
ชื่อผู้แต่ง
1.ธีรภัณฑ์ กี้ประเสริฐทรัพย์
2.วีระศักดิ์ อุดมโชค
3.สมบัติ อยู่เมือง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสำรวจข้อมูลระยะไกล
2.ภัยพิบัติ -- การป้องกัน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวมองค์ความรู้ และบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ในการจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์พื้นที่ที่เคยเกิดพิบัติภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก และพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพิบัติภัย พร้อมหาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อป้องกัน และบรรเทาพิบัติภัยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับเสลาจังหวัดอุทัยธานี โดยใช้วิธีการทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสำรวจระยะไกล และความน่าจะเป็นในการอธิบาย ถึงความสัมพันธ์ทางกายภาพของพื้นที่ร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในลักษณะข้อเท็จจริงที่เคยเกิดขึ้นของพิบัติภัย เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพิบัติภัย ร่วมกับการใช้แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุดเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มคนโดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งแบบสอบถามชุดแรก สอบถามกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 เขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 75 จังหวัด ทั้งสิ้น 139 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ในภาพรวม และสอบถามชุดที่ 2 สอบถามกับกลุ่มคนในพื้นที่ศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 200 คน ในสาขาอาชีพต่างๆ โดยการจัดส่งทางไปรษณีย์ และมีผู้ตอบกลับมาจำนวน 59 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในระดับพื้นที่ โดยผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่เคยเกิดพิบัติภัย ช่วงปี พ.ศ2545 ถึง พ.ศ. 2550 โดยวิธีประมวลผลการเปลี่ยนแปลงทางภาพ (change detection image processing) คิดเป็นพื้นที่ 19.01 ตารางกิโลเมตรหรือร้อยละ 1.97 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากกลุ่มคนในพื้นที่ศึกษาถึงพื้นที่ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และได้นำพื้นที่ที่เคยเกิดมาวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงในระดับที่ละเอียดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการ Landslide and Flash flood Susceptibility Index (LFSI) เพื่อกำหนดระดับความเสี่ยงจากผลรวมตัวเลขของค่าปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์โดยแบ่งเป็นช่วง เท่าๆกันที่ 5 ระดับ คือ เสี่ยงสูงมาก เสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงเล็กน้อย และไม่มีความเสี่ยง คิดเป็นพื้นที่ 0.0018, 76.5, 228.44, 254.42 และ404.82 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับพร้อมแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกัน และบรรเทา พิบัติภัยดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปีที่ 12
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 17 - 27
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-4261
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)