รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าด้วยข้อมูลจุดความร้อนและปัจจัยทางกายภาพ
ชื่อเรื่องรอง Analysis of Forest Fire Risk Areas based on Hot Spot and Physical Factors
ชื่อผู้แต่ง
1.อริศรา เจริญปัญญาเนตร
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ระบบ MODIS
2.ระบบข้อมูลแบบใกล้เวลาจริง
3.พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
หัวเรื่องควบคุม
1.การสำรวจข้อมูลระยะไกล
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าจากระบบข้อมูลแบบใกล้เวลาจริง (Near Real Time System) ด้วยดาวเทียม TERRA-AQUA ระบบMODIS ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่านโดยการศึกษามีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) เพื่อศึกษาระบบข้อมูลแบบใกล้เวลาจริงด้วยข้อมูลดาวเทียม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า และ3) เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการอาศัยข้อมูลจุดความร้อน (Hot Spot) ที่ผ่านการประมวลผล ด้วยระบบเฝ้าระวังไฟป่าแบบใกล้เวลาจริงด้วยภาพดาวเทียม TERRA AQUA ระบบ MODIS ที่ดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งเทคนิควิธีการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดยการดาวโหลดจุดความร้อน และนำมาเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าร่วมกับปัจจัยทางกายภาพอื่นๆคือชนิดของป่าไม้ ที่ตั้งอุทยานฯ ที่ตั้งหมู่บ้าน ความสูง ความลาดชัน ทิศด้านลาด ทางน้ำ และเส้นทางคมนาคม จากนั้น เทคนิคการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร (Multiple Criteria Analysis MCA) ถูกนำมาหาค่าความสำคัญของตัวแปรต่างๆ จากนั้นทุกตัวแปรจึงถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems GIS) ทั้งนี้ผลการศึกษาด้วยระบบข้อมูลแบบใกล้เวลาจริงด้วยดาวเทียมระบบ MODIS ของ AIT นั้น เป็นการใช้แบนด์ 21 และ 31 มาวิเคราะห์เนื่องจากเป็นช่วงคลื่นความร้อนจากนั้นจึงเลือกพื้นที่และช่วงเวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลจุดความร้อน เอนำไปซ้อนทับกับพื้นที่ป่าเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจุดความร้อนดงกล่าวเป็นจุดของไฟป่าจริง ซึ่งหลังจากการซ้อนทับแล้วพบจุดไฟป่าในพื้นที่อุทยานฯ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาตั้งเวลาตั้งแต่วันที่ 1-31 มีนาคม 2550 จำนวนทั้งสิ้น 149 จุด โดยพบมากที่สุด คือ อำเภอปัว เฉลิมพระเกียรติ บ่อเกลือ ทุ่งช้าง แม่จริม สันติสุข ท่าวังผา ตามลำดับส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไฟป่าในพื้นที่อุทยานฯ จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ระยะห่างจากแหล่งน้ำ ความสูงของภูมิประเทศ ระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม ทิศด้านลาดชนิดของป่าไม้ ระยะห่างจากที่ตั้งชุมชน ความลาดชัน และระยะห่างจากที่ตั้งอุทยานฯ ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าถูกแบ่งออกเป็น 4ระดับ โดยระดับความเสี่ยงที่พบมากที่สุด คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้อย มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 391,338 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 36.46 ของพื้นที่อุทยานฯ รองลงมา คือ พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 357,220 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.28 ของพื้นที่ความเสี่ยงสูง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 306,156 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.52 ของพื้นที่อุทยานฯ และสุดท้ายพื้นที่ไม่มีความเสี่ยงมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 18,651 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของพื้นที่อุทยานฯ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปีที่ 12
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 1-16
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-4261
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)