รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินในระดับดี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
|
ชื่อเรื่องรอง |
Model of educational quality assurance of the university at good level: A case study of nakonpathomrajabhat university
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สุนันทา แก้วสุข |
2. | เจริญ สมพงษ์ธรรม |
3. | บุปผา ศิริรัศมี |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ทำให้ผ่านการประเมินในระดับดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ข้อมูลปฐมภูมิงบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยข้อมูล 7 กลุ่ม รวมจำนวน 55 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโดยศึกษาจาก เอกสาร และเว็บไซต์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประกอบด้วย บริบท ได้แก่ สภาพแวดล้อม ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ แผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานหลักของมหาวิทยาลัย ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา งบประมาณ หลักสูตร และอาคารสถานที่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อกระบวนการที่ใช้ ซึ่งได้แก่ กระบวนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งทำให้เกิดผลผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในทุกด้านของกระบวนการ และอาจเกิดผลลัพธ์ ซึ่งได้แก่ ความศรัทธาของประชาชนต่อมหาวิทยาลัยและการสนองด้านกำลังคนของประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาตามปกติ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และดำเนินการโดยยึดหลักวงจร PDCA ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผนการปฏิบัติ การตรวจสอบ และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกทุก5ปี และพบว่าปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่ทำให้ผ่านการประเมิน ในระดับดี แบ่งเป็น2 กลุ่ม คือ ปัจจัยทางด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ปัจจัยด้านทางโครงสร้างขององค์กร ปัจจัยทางด้านบุคลากร ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยด้านกายภาพ และ ปัจจัยทางด้านการประกันคุณภาพ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคม และปัจจัยด้านการเมือง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)