รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน
|
ชื่อเรื่องรอง |
Developing a modal of educational management for excellence in the private school
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สุนิสา วิทยานุกรณ์ |
2. | คุณวุฒิ คนฉลาด |
3. | เสรี ชัดแช้ม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การจัดการศึกษา |
2. | การบริหารการศึกษา |
3. | การศึกษา -- การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ.2550 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างรูปแบบ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการบริหารจัดการศึกษาจำนวน 6 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการพัฒนารูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษาจำนวน 8 คน ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 242 คน จาก 6 ภูมิภาค
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน มี 7 ด้าน ประกอบด้วย ประเด็นที่สำคัญในแต่ละด้านดังนี้ 1.ด้านการนำองค์กร ได้แก่ ผู้นำเป็นแบบอย่างด้านการประพฤติที่ดี และผู้นำมีเมตตากรุณา ซื่อสัตย์ สุจริต และขยันหมั่นเพียร 2.ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ได้แก่ ชี้แจงนโยบาย วัตถุประสงค์และแนวทางปฏิบัติตามแผนให้ทุกฝ่ายเข้าใจชัดเจน และจัดโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์อันนำไปสู่บรรลุวิสัยทัศน์ 3.ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด ได้แก่ จัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุข มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี และกระตุ้นแนะนำให้ครูปฏิบัติหน้าที่ในการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 4.ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ได้แก่สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และศึกษาและวิเคราะห์สภาพความต้องการ และความจำเป็นของโรงเรียน 5.ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม และ การสร้างความยุติธรรมในการทำงาน 6.ด้านการจัดการกระบวนการ ได้แก่ มีกระบวนการเน้นผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นบุคคลที่ดีงาม และ มีระบบดูแลคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และ7. ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ด้านการนำองค์กร ผู้นำปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และด้านการวางแผนกลยุทธ์ สถานศึกษามีแผนกลยุทธ์ระยะสั้น ระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนมีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน มีการบริหารติดตามการทำงานของบุคลากรอย่างเป็นระบบ ด้านการจัดการกระบวนการ สถานศึกษามีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดี ส่วนแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน ด้านการนำองค์การมีความเหมาะสมในระดับมาก(X=4.49)ด้านการวางแผนกลยุทธ์ มีความเหมาะสมในระดับมาก(X=4.44)ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด มีความเหมาะสมในระดับมาก(X=4.24)ด้านการวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีความเหมาะสมในระดับในระดับมาก(X=4.15)ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานมีความเหมาะสมในระดับมาก(X=4.48)ด้านการจัดการกระบวนการมีความเหมาะสมในระดับมาก(X=4.32)ด้านผลลัพธ์ มีความเหมาะสมในระดับมาก(X=4.31)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)