รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อลดความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องรอง The Effects of Buddhist Group Counseling to Decrease Anger and Aggressive Behaviors of the Mathayomsuksa Three Students at Ratwinit Bangkaeo School in Samut Prakan Province
ชื่อผู้แต่ง
1.ภาวิณี ไขกระโทก
2.อาภา จันทรสกุล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.นักเรียน -- พฤติกรรม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ต่อการลดความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความโกรธและระดับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ10คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อลดความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว จำนวน12ครั้ง ครั้งละ1ชั่วโมง 30นาที รวมทั้งสิ้น18ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อลกความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว แบบวัดประสบการณ์ความโกรธและการแสดงความโกรธ แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว แบบบันทึกการเรียนรู้และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแต่ละครั้ง แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มและผู้นำกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Rank Test และ The mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความโกรธและคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 2) นักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 3) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความโกรธและคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความเห็นว่า การเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ในกลุ่มสมาชิกได้มีโอกาสสำรวจตนเองทั้งด้านความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับความโกรธ ได้แสดงความคิดเห็นระหว่างกลุ่มสมาชิกด้วยกัน และได้ระบายความรู้สึก ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจตนเองมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็นำไปสู่การเรียนรู้วิธีการและเทคนิคในการจัดการกับความโกรธและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก้าวร้าวของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่ 24
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 90-100
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาสาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6203
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)