รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แบบจำลองการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชนก
|
ชื่อเรื่องรอง |
Integrated Instruction Model for the Development of Learning Achievement and Problem Solving Skill in Nursing Students at Praboromarajchanok
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พีระนันทิ์ จีระยิ่งมงคล |
2. | พนิต เข็มทอง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาจากการใช้หลักสูตรและการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 2. สร้างแบบจำลองการเรียนการสอนแบบบรูณาการ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลก่อนและหลังการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยแบบจำลองและเรียนด้วยแบบปกติ 4. ศึกษาประสิทธิภาพของแบบจำลอง ขั้นตอนการวิจัยมีดังนี้ 1. สำรวจสาเหตุที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 2. ร่างแบบจำลองการเรียนการสอน โดยยึดกรอบแนวคิดทฤษฏีพหุปัญญา และการสร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญา 3.ศึกษานำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ 4. ทดลองและประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วิชิระ ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัญหาการใช้หลักสูตรและการเรียนการสอนแบบบูรณาการคือ ความเข้าใจในหลักสูตร ความพร้อมและความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของผู้สอน สำหรับปัญหาของผู้เรียนคือความสามารถในการค้านหาข้อมูล 2. ได้แบบจำลองที่มีชื่อว่า 6 S’ Success Learning Model ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นประเมินความรู้ ขั้นค้นคว้า ทบทวนความรู้ ขั้นสะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ชั้นประชุมกลุ่มย่อย ขั้นเสนอผลงาน และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ 3. นักศึกษาที่เรียนด้วยแบบบูรณาการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 6ขั้นตอน คือ ขั้นประเมินความรู้ ขั้นค้นคว้า ทบทวนความรู้ ขั้นสะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ ขั้นประชุมกลุ่มย่อย ขั้นเสนอผลงาน และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ 3. นักศึกษาที่เรียนด้วยแบบจำลองและเรียนด้วยแบบปกติมีคะแนนของแบบทดสอบ และทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาล ก่อนการเรียนไม่แตกต่างกัน 4. นักศึกษาที่เรียนด้วยแบบจำลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ไขปัญหาทางการพยาบาลสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 5. แบบจำลองการเรียนมีค่าดัชนีประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 0.50
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)