รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงงานเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ชื่อเรื่องรอง Learning organization/Maptaphut factories industrial estate
ชื่อผู้แต่ง
1.จารุณี ตันติเวชวุฒิกุล
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.องค์การแห่งการเรียนรู้
2.องค์กรแห่งการเรียนรู้
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารองค์ความรู้
2.การเรียนรู้องค์การ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเีรียนรู้ที่เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดตามกรอบแนวคิดของเซนเกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างรูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่ององค์กรแห่งการเีรียนรู้จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยใช้เทคนิค เดลฟาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานกลุ่ม QC ในโรงงานเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำนวน 40 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมขององค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงงานเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย หลักการที่ 1 การมุ่งสู่ความเป็นเลิืศ ได้แก่ การให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้แก่พนักงาน จะทำให้องค์กรก้าวสู่ความ เป็นเลิศอย่างยั่งยืนและการส่งเสริมให้พนักงานมีการจัดการเรียนรู้ หลักการที่ 2 รูปแบบวิธีคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ได้แ่ก่ การสร้างแรงจูใจ ให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น โดยให้การชมเชยหรือรางวัล และองค์กรในการกระจายอำนาจและมอบหมายงานที่เหมาะสมและชัดเจน หลักการที่ 3 การสร้างและสานวิสัยทัศน์ ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงงานโดยพนักงานยอมรับและมองเห็นในทิศทางเดียวกัน การกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน หลักการที่ 4 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ได้แก่ การสนับสนุนให้สมาชิกในทีมงานเรียนรู้ร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยวิธีการง่ายๆ เพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการร่วมกันและการให้บุคคลากรอบรมและเรียนรู้วิธีการทำงานเป็นทีม หลักการที่ 5 ความคิดเข้าใจเชิงระบบ ได้แก่ การวางแนวทางขององค์กรให้มุ่งไปในทางเดียวกัน โดยกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์และมุ่งเน้นลูกค้า การกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางของหน่วยงานที่ชัดเจน ส่วนแนวคิดของผู้บริหารและพนักงาน กลุ่ม QC ในโรงงานเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พบว่าประเด็นสำคัญตามหลักการทั้ง 5 ประกอบด้วย หลักการที่ 1 ได้แก่ การส่งเสริมให้พนักงานมีการดูแลจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และการบริหารงานโดยการใช้วงจรของเดมมิ่ง หลักการที่ 2 ได้แก่ ระะบบเศรษฐกิจใหม่ต้องพึ่งพาข้อมูลข่าวสาร ภูมิความรู่ ภูมิปัญญา เพื่อการคิดการตัดสินใจในชีวิตประจำวันและในธุรกิจ และผู้บริหารสนับสนุนและให้โอกาสแก่พนักงานในการเรียนรู้ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างผลงานความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ หลักการที่ 3 ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงงานโดยพนักงานยอมรับและมองเห็นไปในทิศทางเดียว และเชื่อในวิสัยทัศน์และการสร้างความรู้สึกร่วมกันในการวางแผนพัฒนาระบบงาน หลักการที่ 4 ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ดีจะเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และพัฒนาทีมงานของคนในองค์กรและปฏิบัติงงานในโรงงานต้องตระหนักเรื่องความปลอดภัย และการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน และหลักการที่ 5 ได้แก่ การคิดอ่านอย่างเป็นระบบเป็นการนำ องค์ความรู้มาบูรณาการขึ้นเป็นความรู้ใหม่เป็นการพัฒนานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 1
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 37 - 50
ปีพิมพ์ 2550
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)