รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์และวิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดชลบุรี
|
ชื่อเรื่องรอง |
The Construction of Computer Assisted Instruction on Geometric Transformation for Mathayomsuksa 1 Students at Kasetart University Laboratory School, Multi-Lingual Program, Center for Educational Research and Development,Changwat Chon Buri
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ภราดร เขมะกนก |
2. | ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | เรขาคณิต -- การศึกษาและการสอน -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน |
2. | เรขาคณิต -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต 2. หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต 3. ศึกษาพัฒนาการในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4. ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน34 คน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาจังหวัดชลบุรี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการแปลงทางเรขาคณิต 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ค่าเฉลี่ยและร้อยละเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้ match paired t-test และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็น 77.16/71.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เท่ากับ70/70 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)