รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบผลโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายด้วยเก้าจตุรัสและบันไดลิงที่มีต่อสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด
ชื่อเรื่องรอง A Comparison of the effectiveness of nine-squares and multi-step-ladders exercise training programs o maximal oxygen consumption
ชื่อผู้แต่ง
1.กณิศ ญาณวรุตม์วงศ์
2.ชาญชัย ขันติศิริ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การออกกำลังกาย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลความแตกต่างของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยเก้าจตุรัสและบันไดลิงที่มีต่อสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน60คน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5-6จากโรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องออนุสรณ์ จำนวน99คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากการทดสอบด้วยการใช้คะแนนจากแบบทดสอบวิ่ง1.5ไมล์(1.5-mile run test) ของCooper มาเรียงจากมากไปหาน้อย ตัดสินผู้ที่มีคะแนนสูงสุดและต่ำที่สุดออก เลือกอันดับคะแนนที่อยู่กึ่งกลาง 60อันดับ มาแบ่งกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออกกำลังกายด้วยเก้าจตุรัส กลุ่มออกกำลังกายด้วยบันไดลิง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ30คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายด้วยเก้าจัตุรัส และโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายด้วยบันไดลิง โดยดำเนินการฝึกออกกำลังกายเป็นระยะเวลา8สัปดาห์ๆละ3วัน คือ วันจันทร์ พุธ และศุกร์และใช้แบบทดสอบวิ่ง 1.5 ไมล์ เพื่อใช้ในการทดสอบสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด และเก็บข้อมูลทั้งก่อนเริ่มการฝึกออกกำลังกาย ภายหลังการฝึกออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย(mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองมิติ (two-way: ANOVA) เพื่อหาผลกระทบระหว่างวิธีการฝึกออกกำลังกายกับระยะเวลาการฝึกออกกำลังกาย วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ(one-way analysis of variance with repeated measures) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มการฝึกออกกำลังกายทั้ง3กลุ่ม ก่อนการฝึกออกกำลังกาย ภายหลังการฝึกออกำลังกายในสัปดาห์ที่ 4และ8 วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way analysis of variance with repeated measures) เพื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มการฝึกออกกำลังกายทั้ง 3 กลุ่ม และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของ Tukeyถ้าพบความแตกต่างที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของการฝึกอออกกำลังกายด้วยเก้าจัตุรัสและบันไดลิงไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 แต่ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของการฝึกออกกำลังกายด้วยเก้าจตุรัส และบันไดลิงมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4-8 สรุปว่า การฝึกออกกำลังกายด้วยบันไดลิง สามารถพัฒนาสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดได้เหมือนกันกับการฝึกออกกำลังกายด้วยเก้าจตุรัส
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่ 24
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 143-154
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6203
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)