รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การประเมินพื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADRSET -2 แบบต่างทิศทางการแผ่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายช่วงเวลา บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องรอง Using multi-polarization and multi-temporal SAR data to area estimate of rice on the Part Supan Province
ชื่อผู้แต่ง
1.ธัญรัตน์ อนันต์
2.เชาวลิต ศิลปทอง
3.อนุสรณ์ รังสิพานิช
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ดาวเทียม -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
2.ดาวเทียมในการเกษตร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การถือกำเนิดของรูปแบบทิศทางการแผ่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบหลายทิศทาง(Multi-polarization) บนดาวเทียมระบบเรดาร์ บนดาวเทียม RADRSET -2 เป็นสิ่งที่สร้างความน่าพอใจในการนำพารามิเตอร์มาทำการจำแนกโดยใช้วิธีการประมาณค่า เมตรทางการแผ่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Polar metric) ในการตรวจสอบ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกให้ง่าย แลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้ใช้พื้นที่ศึกษาบริเวณพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวนาปรังที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตที่มีระบบชลประมานสมบูรณ์ การศึกษานี้จะทำการประเมินศักยภาพของการจำแนกพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง โดยใช้ข้อมูลหลายทิศทางการแผ่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้จากความถี่ C – Band จากดาวเทียม RADRSET -2 ได้แก่ HH W HV และ VH และข้อมูลต่างช่วงเวลาโดยใช้ภาพถ่ายเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2554 ตามลำดับ เพื่อติดตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่ศึกษา ความหลากหลายของการผสมผสานข้อมูลต่างทิศทางการแผ่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะนำมาใช้ในการจำแนกพื้นที่ปลูกข้าวโดยพิจารณาจากความแตกต่างกันของระยะการเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งส่งผลให้ค่าการกระจัดกระจายกลับของสัญญาณเรดาร์(radar backscatter) มีความแตกต่างกัน การจำแนกใช้วิธีการจำแนกแบบกำกับดูแล (supervised classification)แบบmaximum likelihood การเลือกพื้นที่ตัวอย่างได้จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่จากการสำรวจข้อมูลจริง การประเมินความถูกต้องของการจำแนกได้การสำรวจในพื้นที่จริงเช่นกัน ผลจากการจำแนกให้ค่าความถูกต้องโดยรวม 88 % ทั้งนี้ผลที่ได้จะสามารถใช้ในการสร้างต้นแบบสำหรับการประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปีที่ 13
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 35-45
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-4261
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)