รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินความเหมาะสมของที่ดิน สำหรับปลูกข้าวของจังหวัดลพบุรี
|
ชื่อเรื่องรอง |
Geo-informatics space technology for land suitability of paddy field in Lopburi Province
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ธัญลักษณ์ เอื่อมณรงค์ฤทธิ์ |
2. | กัลยา ดำรงสัจจ์ศิริ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ที่ดิน -- การสำรวจ |
2. | ดิน -- การจัดการ |
3. | ดิน -- การวิเคราะห์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่มีปลูกอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยรวมทั้งจังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาการศึกษาวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สทอภ.(GISTDA)กับ Institute of Remote Sensing Applications (IRSA) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบจำลองในการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจข้าว สำหรับงานวิจัยนี้จะใช้เทคนิคการประเมินความเหมาะสมของที่ดินตามหลักการของ FAO (1983) และวิธีการประเมินแบบหลายปัจจัย(Multi-Criteria evaluation)โดยทำการศึกษาเฉพาะข้อมูลทางกายภาพ คือ ข้อมูลปัจจัยความต้องการใช้ที่ดิน(Land use Requirements) ซึ่งสมารถอธิบายได้ด้วยข้อมูลคุณภาพที่ดินและปัจจัยวินิจฉัย(Land quality and land characteristics) เพื่อจำแนกความเหมาะสมและหาพื้นที่ที่เหมาะสมของที่ดินสำหรับการผลิตพืชเศรษฐกิจข้าว ปัจจัยวินิจฉัยที่นำมาใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 8 ปัจจัย ได้แก่ ความลึกของพื้นดิน การระบายน้ำของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารของดิน ความลาดชัน อุณหภูมิ ปริมาณนำฝน และเนื้อดิน จากนั้นแต่ละปัจจัยจะนำมาใส่ค่าคะแนนความสำคัญของแต่ละปัจจัยและทำการคำนวณโดยใช้สมการ ซึ่งจะทำให้ทราบเนื้อที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวในจังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากในการปลูกข้าว (S1) มีเนื้อที่ 103,654 ไร่ หรือร้อยละร้อยละ 2.67 ของพื้นที่ทั้งหมด
พื้นที่ ทีมีความเหมาะสมปานกกลาง(S2) มีเนื้อที่ 1,393,745 ไร่ หรือร้อยละ 35.97 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,917,512 ไร่หรือร้อยละ 49.49 และพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 459,935 ไร่ หรือร้อยละ
11.87
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)