รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การศึกษาวิธีประมวลผลแบบจำลองระดับปริมาณมากเพื่อการวิเคราะห์ภูมิประเทศ
|
ชื่อเรื่องรอง |
A study of massive DEM processing for terrain analysis
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วรวุฒิ ไชยวงษา |
2. | ไพศาล สันติธรรมนนท์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิเคราะห์การไหลสะสมของน้ำ จากลักษณะภูมิประเทศ เป็นการประยุกต์ใช้ที่สำคัญในด้านอุทกวิทยาแบบจำลองระดับ เป็นข้อมูลภูมิประเทศตั้งต้นซึ่งมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่นไลดาร์ ที่สามารถสร้างแบบจำลองระดับปริมาณมากได้ แบบจำลองระดับปริมาณมากนี้อาจเป็นอุปสรรคในการประมวลในแง่เวลาและความละเอียดถูกต้องในงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อหาขั้นตอนและวิธีการเตรียมแบบจำลองระดับปริมารมากที่ได้จากไลดาร์ เพื่อใช้ประมวลผลและศึกษาหาขีดความสามารถในการหาการไหลสะสมของน้ำ โดยการวิจัยมีการศึกษาแบบจำลองระดับที่ความละเอียดถูกต้องหลายระดับแตกต่างกัน ได้มีการสร้างข้อมูลแบบจำลองระดับให้มีระยะห่างของจุดระดับเป็น 1, 2, 5และ 10 เมตรตามลำดับ และยังมีเพิ่มเติมรายละเอียดสำหรับการวิเคราะห์เชิงอุทกวิทยา เมื่อนำแบบจำลองระดับที่เตรียมได้ไปประมวลผลเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในแง่ของเวลา เส้นทางน้ำไหลที่ได้ตลอดจนการไหลสะสมของน้ำโดยการใช้ผลจากแบบจำลองระดับที่ละเอียดที่สุดคือ 1 เมตรเป็นการอ้างอง ผลการวิจัยพบว่า เทคนิควิธีเตรียมแบบจำลองระดับสำหรับการประมวลผล 3 วิธี ได้แก่ 1) การเพิ่มข้อมูลระดับผิวถนนและความลึกของโครงข่ายคูคลองที่มีอยู่เดิมลงในข้อมูลตั้งต้น 2) การเพิ่มข้อมูลการปรับเปลี่ยนรูปการบังคับน้ำโดยการเสริมด้วยข้อมูลระดับน้ำของถนน คันกั้นน้ำหรือ โครง-สร้างที่บังคับทางน้ำขึ้นใหม่ในข้อมูลตั้งต้นและ 3) การเพิ่มข้อมูลแบบหลากหลายในข้อมูลตั้งต้น ในแง่ประสิทธิภาพของผลลัพธ์พบว่าแบบจำลองระดับ 2เมตร มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่ความคลาดเคลื่อนเส้นทางน้ำไหลด้วยวิธีการจับคู่จุดบนเส้นอย่างมีเงื่อนไขเฉลี่ย (RMSE)82.25 เมตร และที่ผลการไหลสะสมของนำคลาดเคลื่อน ด้วยวิธีเปอร์เซ็นต์ค่าผิดพลาดสัมบูรณ์ (FPE) 0.46% โดยที่เวลาประมวลผลเฉลี่ย 21.36 นาที ซึ่งเร็วกว่าแบบจำลองระดับ 1 เมตร
เฉลี่ย 261.6 นาที และช้ากว่าแบบจำลองระดับ 5 เมตรที่มี RMSE เฉลี่ย 132.5 เมตร และ FPE เฉลี่ย 0.88 % ที่เวลาเฉลี่ย 19.41 นาที
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)