รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
วงโคจรของกลุ่มดาวเทียมคอสโม่ – สกายเม็ท
|
ชื่อเรื่องรอง |
COSMO - sky med satellite constellation orbits
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ประมินทร์ พิชิตการค้า |
2. | สะสิน เผือนสา |
3. | อนุเผ่า อบแพทย์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | ดาวเทียมในการวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ดาวเทียม -- การสำรวจ |
2. | ดาวเทียม -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
สำหรับดาวเทียมสำรวจโลก การถ่ายภาพให้ครอบคลุมพื้นที่กว้างและมีวามละเอียดภาพสูงเป็นสิ่งสำคัญ คุณสมบัติพื้นฐานนี้สามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้โดยการใช้กลุ่มดาวเทียมอย่างไรก็ตาม ในสภาพอากาศที่มีเมฆปกคลุมเซนเซอร์ (Optical) หรืออุปกรณ์วัดความร้อน (Thermal)ไม่เพียงพอที่จะถ่ายภาพได้ชัดเจนและปราศจากเมฆได้ ในทางกลับกันเซนเซอร์แอคทีฟสามารถถ่ายภาพได้อย่างต่อเนืองทั้งกลางวันแกลางคืนโดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศเนื่องจากถ่ายภาพทะลุผ่านเมฆได้ ดังนั้นกาใช้วามสามารถของกลุ่มดาวที่ติดตั้งเซนเซอร์แบบแอคทีฟเข้ามาประกอบจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ตัวอย่างของดาวเทียมชนิดนี้ได้แก่ กลุ่มดาวคอสโม่-สกายเม็ท (COSMO - sky Med)ดาเทียมสำรวจโลกหรือกุ่มดาวเทียมส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้อยู่ในวงโคจรสัมพันธ์กับวงอาทิตย์เพื่อให้ได้เวลาที่จุดผ่านเดียวกันหรือเวลาท้องถิ่นที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันและรักษามุมดวงอาทิตย์(Sun Angle)ให้คงทีเนื่องจากเซนเซอร์แอคทีฟใช้แหลงพลังงานของตนเอง การออกแบบให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรพิเศษที่สัมพันธ์ กับดวงอาทิตย์ และมีระยะเวลาท้องถิ่นขาลงคงที่ 06.00 น.+ 15 นาที และระยะเวลาท้องถิ่นขาขึ้น คงที่ 18.00น. +15 นาที นั้น จะทำให้ดาวเทียมโคจรตรงเส้นแบ่งกลางวันแลแกลางคืนอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับกลุ่มดาวเทียม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)