รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การศึกษาการมีส่วนร่วมและแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนกิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด
|
ชื่อเรื่องรอง |
The study of community participation in educational administration and guidalines for participative development of schools in Kohchang sub-district under The Office of Trat Educational Service Area
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | นันทิยา บัวตรี |
2. | ภารดี อนันต์นาวี |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | โรงเรียน -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
2. | โรงเรียนกิ่งอำเภอเกาะช้าง -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมและแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนและสถานภาพของสมาชิกในชุมชนของกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งศึกษาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ปฏิบัติการสอน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน คระกรรมการสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบค่าที (t-test) ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์สาระจากการสนทนากลุ่มผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การศึกษาการมีส่วนร่วมและแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนเกาะช้างและโรงเรียนเกาะช้างใต้พบว่าโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภอเกาะช้างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
4. แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน กิ่งอำเภิเกาะช้างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นมีส่วนร่วมจัดทำแผนจัดตั้งงบประมาณ รวมทั้งการติดตาม ควบคุมกำกับการประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนการใช้จ่ายร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนและพิจารณาเห็นชอบกับโครงการที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติการประจำปี
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)