รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด
|
ชื่อเรื่องรอง |
A development of composite indicators of learning organization of provincial nonformal education center
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ |
2. | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- การบริหาร |
2. | การบริหารองค์ความรู้ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเีรียนรู้ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล โครงสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนา ตัวบ่งชี้รวมไปใช้ในการสร้างศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด จำนวน 480 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยโปรแกรม SPSS และ ใช้โปรแกรม AMOS ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล โครงสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่า
ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบหลักที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักด้านการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักด้านองค์การและองค์ประกอบหลักด้านการจัดการความรู้ ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักจะต้องปฏิบัติผ่านตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบย่อยทั้งหมด 20 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 80 ตัว
ตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดประกอบด้วยตัวบ่งชี้ที่เป็นองค์ประกอบหลักรวม 3 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ได้แก่ องค์การ การจัดการความรู้ และการเรียนรู้
ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนี วัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมุติฐานการวิจัย ผลการทดสอบพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)