รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สื่อลามกบนอินเทอร์เน็ต: อันตรายที่พึงระวังละแนวทางแก้ปัญหาต่อเยาวชนไทย
ชื่อเรื่องรอง Internet pornography : Risk caution and prevention guideline against its effects on Thai youth
ชื่อผู้แต่ง
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.สื่อลามก
หัวเรื่องควบคุม
1.ภาพเปลือย
2.การค้าประเวณีทางอินเตอร์เน็ต
3.สื่อลามกอนาจาร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนสังคมไทย เนื่องจากเป็นสื่อที่สามารถสืบค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ทุกชนิด และยังเป็นสื่อที่ติดต่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลก หากแต่อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนดาบสองคมที่หากไม่ระมัดระวังก็อาจเป็นอันตรายต่อร่ายงการ จิตใจ และทรัพย์สินสู่ผู้ที่ใช้และครอบครัวได้ ทั้งในทางที่ตั้งใจและพลัดหลงเข้าไปใช้บริการที่ไม่สร้างสรรค์อย่างสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตที่ปัจจุบันมีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น เว็บไซต์ลามก การติดต่อสื่อสารในสังคมออนไลน์(Social Network) การสนทนาออนไลน์ การดาวน์โหลดคลิปลามกและภาพลามก การอ่านการ์ตูนลามก และการอ่านเรื่องเล่าทางเพศ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นวัยที่มีความต้องการและมีความสนใจในเรื่องเพศตามพัฒนาการในการเรียนรู้ และยังเป็นวัยที่มีอายุน้อยจึงเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการใช้อินเตอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม อาจพบเจอประสบการณ์หรือถูกล่อลวงให้เกิดให้เกิดทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศในทางที่ไม่ถูกไม่ควร และอาจเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบตามสื่อที่ได้พบเห็นจนกลายเป็นปัญหาต่อสังคมได้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆในสังคมควรเข้ามามีบทบาทในป้องกันและแก้ไขทั้งสิ้น4 บทบาทด้วยกัน ได้แก่ บทบาทของพ่อแม่หรือปกครอง บทบาทของสถาบันการศึกษา บทบาทของหน่วยงานรัฐบาล และบทบาทของสื่อมวลชน เพื่อช่วยสอดส่องดูแลและให้ความรู้ในการรู้เท่าทันสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตแก่เด็กและเยาวชน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนักบริหาร
ปีที่ 31
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 223-233
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-4960
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)