รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
ชื่อเรื่องรอง |
A causal model of factors affecting educational quality of schools under The Office of Basic Education Commission
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สมหมาย อ่ำดอนกลอย |
2. | สมุทร ชำนาญ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประกันคุณภาพการศึกษา |
2. | คุณภาพการศึกษา |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูแปบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้แนวคิดเรื่องการบริหารคุณภาพทั้งระบบ (TQM) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กรมสามัญเดิม) จำนวน 388 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัว ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำ 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 4) กระบวนการบริหารและ 5) คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามของตัวแปรแฝงทั้ง 5 ตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐานและใช้โปรแกรม LISREL 8.80 ในการพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปรับเป็นรูปแบบทางเลือกมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่า x กำลังสอง เท่ากับ 17.64 ที่ df เท่ากับ 27 ค่า p เท่ากับ .91 ค่า GFI เท่ากับ .99 ค่า RMSEA เท่ากับ .00 ตัวแปรทั้งหมดในรูปแบบทางเลือกที่พัฒนาขึ้นมาสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 90 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ กระบวนการบริหาร การบริหารทัพยากรมนุษย์ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ 1) ภาวะผู้นำซึ่วมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และกระบวนการบริหาร 2) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอิืืทธิพลทางอ้อมผ่านการวางแผนเชิงกลยุทธ์และกระบวนการบริหาร และ 3) การวางแผนเชิงกลยุทธ์มีอิืทธิพลทางอ้อมผ่านกระบวนการบริหาร โดย ค่า x กำลังสอง diff แสดงให้เห็นว่ารูปแบบทางเลือกที่พัฒนาขึ้นมาสามารถใช้อธิบายได้ดีกว่ารูปแบบตามสมมติฐานการวิจัย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)