รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง Multi-level factors affecting the success of implementation of decentralization policy on basic education school under The Office of Basic Education Commission
ชื่อผู้แต่ง
1.พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์
2.เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
3.เสรี ชัดแ้ช้ม
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.โรงเีรียน -- การบริหาร
2.สถานศึกษา -- การบริหาร
3.การบริหารแบบมีส่วนร่วม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจประเภทที่หนึ่งผู้บริหารและศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 885 คน ตัวแปรระดับสถานศึกษา จำนวน 6 ตัวแปร คือ กลุ่มตัวแปรป้อนเข้า ได้แก่ ภาวะผู้นำ ของผู้บริหาร สมรรถนะของสถานศึกษา การยอมรับของบุคลากร กลุ่มตัวแปรกระบวนการ ได้แก่ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจในการบริหารและกลุ่มตัวแปรผลผลิต เป็นตัวแปรตามคือ ความสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติ ตัวแปรระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 7 ตัวแปร คือ กลุ่มตัวแปรป้อนเข้า ได้แก่ ลักษณะของนโยบายมาตรฐานนโยบาย ทรัพยากรนโยบาย กลุ่มตัวแปรกระบวนการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ขององค์กร การบริหารแบบมีส่วนร่วม การกำกับติดตามประเมินผล กลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษา ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลพัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่า X กำลัง 2 เท่ากับ 32.52 ที่ df เท่ากับ 59 ค่า p เท่ากับ 1 ค่า GFI เท่ากับ 1 ค่า RMSEA เท่ากับ .00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 86 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การกระจายอำนาจในการบริหาร ส่วนตัวแปรที่ีมีอิทธิพลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สมรรถนะของสถานศึกษา การยอมรับของบุคลากร และการบริหารแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่างระดับปรากฏว่า กลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษาส่วผลต่อกลุ่มตัวแปรป้อนเข้า กลุ่มตัวแปรกระบวนการ และกลุ่มตัวแปรผลผลิตระดับสถานศึกษา การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างระดับ ปรากฏว่า กลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษาส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจในการบริหาร ระดับสถานศึกษา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 2
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 13 - 37
ปีพิมพ์ 2551
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)