รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิันัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก
|
ชื่อเรื่องรอง |
Factors affecting the development of students discipline of secondary school under The Office of the Basic Education Commission in the Eastern Area
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | วินัยของเด็ก |
2. | นักเรียนมัธยมศึกษา -- วินัย |
3. | วินัยในโรงเรียน -- การศึกษาและการสอน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยของนักเรียนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการพัฒนาวินัยของนักเรียน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์การพัฒนาวินัยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก ด้วยปัจจัยจากนักเรียนเอง ปัจจัยจากกลุ่มเื่พื่อน ปัจจัยทางบ้าน ปัจจัยจากระบบการบริหารโรงเรียน ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน ปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานกิจการนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2550 จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยจากการบริหารโรงเรียน ปัจจัยจากทางบ้าน ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน ปัจจัยจากนักเรียนเอง ปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน
2. ปัจจัยจากนักเรียนเอง ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน และปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาวินัยของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ปัจจัยจากนักเรียนเอง ปัจจัยจากทางบ้าน ปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน และปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน สามารถพยาการณ์การพัฒนาวินัยนักเรียนในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์เท่ากับ 45.90 เปอร์เซ็นต์
4. ปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน สามารถพยากรณ์การพัฒนาวิันัยนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา ด้านวินัยในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์เท่ากับ 8.3 เปอร์เซ็นต์
5. ปัจจัยจากนักเรียนเอง ปัจจัยจากทางบ้าน ปัจจัยจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน และปัจจัยจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมทั้ง 4 ปัจจัยเท่ากับ .536 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยรวมกันสามารถพยากรณ์การพัฒนาวินัยของนักเรียน ด้านวินัยต่อสังคมได้ 53.60 เปอร์เซ็นต์
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)