รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการบริหารโรงเรียนชั้นนำขนาดเล็กในชนบทที่มีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้องสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 และโรงเรียนบ้านแม่จ้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
ชื่อเรื่องรอง A comparative analysis of effective administration model of small-sized leading schools in remote areas : a case study of Ban Nongyaplong School under the jurisdiction of The Office of Burirum Educational Service Area 1 and Ban Maejong under the jurisdiction of The Office of Chiang Mai Educational Service Area 1
ชื่อผู้แต่ง
1.ภูวนาถ ยุพานวิทย์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.โรงเรียน -- การบริหาร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพภูมิหลังเงื่อนไขที่ส่งเสริมและอุปสรรคต่อการบริหาร และ 3) เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างกันของการบริหารจัดการ โรงเรียนชั้นนำขนาดเล็กในชนบทที่มีประสิทธิภาพในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 โรงเรียน โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 และโรงเรียนบ้านแม่จ้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง และภูมิปัญญาท้องถิ่น เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) และการสังเกตและจดบันทึก (Observasion and Field-Note) วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปโดยวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการของแต่ละโรงเรียน (Illustrative Model) วิเคราะห์เชิงวัฒนธรรม (Cultural Analysis) วิเคราะห์ภาพความสำเร็จ (Successive Approximation) และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) และตรวจสอบแบบสามเส้าด้านผู้วิจัย (Investigator Triangulation) แล้วนำกลับไปให้ผู้ให้ข้อมูลอ่านซ้ำอีก (Reflecting) ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนบ้านแม่จ้องกำหนดโครงสร้างการบริหารงานเป็น 5 งาน และกำหนดรูปแบบการบริหารงานที่เรียกว่า "แม่จ้องบวร" คือ บ้าน วัด และโรงเรียนร่วมกันบริหารและจัดการศึกษา ส่วนโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง กำหนดโครงสร้างการบริหารเป็น 4 งาน และบริหารจัดการศึกษาโดยเน้นการบูรณาการของการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่างๆ อย่างเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน สำหรับเงื่อนไขที่ส่งเสริมการบริหารที่มีประสิทธภาพของทั้งสองโรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวนการ เป็นผู้บริหารมืออาชีพ ครูมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความสามัคคีและร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นฝ่ายนำในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา ต่างๆ ของโรงเรียน ผู้นำทางศาสนา มีบทบาทที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาในชุมชน และการเรียนการสอน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ส่วนเงื่อนไขที่เป็นอุสปสรรคต่อการบริหารของทั้งสองโรงเรียนได้แก่ระบบราชการทำให้การปฏิบัติงานล่าช้า ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ รายได้ประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และสถาบันครอบครัวของคนในชุมชนอ่อนแอ สำหรับผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ โรงเรียนชั้นนำขนาดเล็ก ที่มีประสิทธิภาพทั้งสองโรงเรียน พบว่า มีลักษณะร่วมที่เหมือนกันคือผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ คณะครูทำงานเป็นทีม มีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุน จัดให้นักเรียนได้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีการกระจายอำนาจการบริหาร ส่วนที่ต่างกันคือ การจัดโครงสร้างการบริหารงานและผู้อำนวยการโรงเรียน ทั้งสองแห่งมีกลยุทธ์ในการบริหารที่แตกต่างกัน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง เน้นที่การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการจัดการเรียนการสอน ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่จ้องเน้นทีมงานและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 3
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 29 - 46
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)