รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การนำเสนอข่าวเด็กกับการถูกละเมิดทางหนังสือพิมพ์
ชื่อเรื่องรอง News reporting on children and right violation on newspaper
ชื่อผู้แต่ง
1.ปริณดา เริงศักด์
2.ยุคลธร ไกรวศิน
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
2.หนังสือพิมพ์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ หนังสือพิมพ์ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวของเด็กน้อยกว่าพื้นที่ของข่าวด้านอื่น โดยมีแนวโน้มของทิศทางการรายงานในทางลบและมักจะถูกนำไปไว้ในหน้าหนึ่ง อีกทั้งการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีเด็กยังไม่ละเมิดสิทธิของเด็กด้วย เนื่องจากนักหนังสือพิมพ์ขาดความรู้และขาดความระมัดระวังในการนำเสนอที่ดีพอ อย่างไรก็ตามแม้ว่าเด็กทุกคนพึงจะได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(convention on the rights of the child-crc)แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กบางคนที่พลาดพลั้งกระทำความผิดจนกลายเป็นข่าวคดีเด็ก ดังนั้นจึงเกิดพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ 2553 การพิจารณาคดีให้กระทำเป็นความลับเพื่อคุ้มครองเด็กเหล่านั้นจากสื่อมวลชน ในขณะเดียวกันการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็กถูกทำร้าย เด็กถูกข่มขืน หรือแม้การกระทำความผิดโดยตัวของเด็กเอง หนังสือพิมพ์จะต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าระหว่างการทำหน้าที่เป็นบทบาทผู้แจ้งข้อมูลข่าวสาร (informer)ในการตอบสนองสิทธิที่จะรู้(Right to Know)ของผู้อ่านกับสิทธิของเด็กนั้น หนังสือพิมพ์จำเป็นจะต้องทำหน้าที่ดังกล่าวให้ครบสมบูรณ์ทั้งสองด้าน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเหตุการณ์ตามที่เขาควรมีสิทธิที่จะรู้ อีกทั้งการนำเสนอข่าวจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเด็กจากการเปิดเผยอัตลักษณ์หรือรายละเอืยดที่ทำให้ผู้อ่านทราบทันทีว่าเด็กคนนั้นเป็นใคร โดยที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิเด็กในรอบสอง รวมทั้งผู้สื่อข่าวทุกคนยังจะต้องมีจริยธรรมทางวิชาการรายงานข่าวเด็กอีกด้วย เนื่องจากจะทำให้เขาเหล่านั้นสมารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขในสังคมต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนักบริหาร
ปีที่ 32
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 38-43
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-4960
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)