รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
องค์ประกอบการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
|
ชื่อเรื่องรอง |
Professional development components of teachers in large primary schools in Bangkok metoprolis and suburban area
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ครู |
2. | ครุศาสตร์ |
3. | ครู -- การทำงาน |
4. | การบริหารงานบุคคล |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาวิชาชีพครู ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วยขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบโดยวิธีการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุิฒิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 649 คน ผลการวิจัยพบว่า ในการแสดงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบต้นแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่โครงสร้างและบริบทของโรงเรียน รูปแบบการพัฒนา การพัฒนาตนเอง การมีส่วนร่วม และการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าทุกองค์ประกอบเรื่องรูปแบบการพัฒนา ที่มีค่าความสำคัญเท่ากับ 3.90 เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องการประเมินผลมากที่สุด
เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ด้วยการ Rotate Component Matrix พบว่า การจับกลุ่มขององค์ประกอบเปลี่ยนแปลงไปจากองค์ประกอบต้นแบบที่ 5 ตัวแปร องค์ประกอบการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากการวิจัยในครั้งนี้มี 8 องค์ประกอบ คือ
1. องค์ประกอบด้านการประเมินผล
2. องค์ประกอบด้านการพัฒนาตนเอง
3. องค์ประกอบด้านโครงสร้างและบริบทของตนเอง
4. องค์ประกอบด้านความเป็นผู้นำของครู
5. องค์ประกอบด้านโอกาสในการเรียนรู้
6. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม
7. องค์ประกอบด้านการกำหนดวิสัยทัศน์
8. องค์ประกอบด้านการใช้วิจัยเป็นฐาน
งานวิจัยเรื่องนี้จึงได้ข้อสรุปของการวิเคราะห์ใหม่ว่า ในการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ควรให้นำ้หนักความสำคัญ เรื่อง การประเมินผลการพัฒนาวิชาชีพครูมากที่สุดและให้น้ำหนักความสำคัญเรียงลำดับจากมากไปสู่้น้อยจากเรื่องการพัฒนาตนเอง โครงสร้างและบริบทของโรงเรียน ความเป็นผู้นำของครูโอกาสในการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การกำหนดวิสัยทัศน์ และการใช้การวิจัยเป็นฐาน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)