รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การสำรวจการใช้เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง The survey on the usage of modern organizational development tools and techniques in organizations registered in stock exchange of Thailand
ชื่อผู้แต่ง
1.กรกนก ทิพรส
2.โชคชัย สุเวชวัฒนกูล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1. การพัฒนาองค์การ
2.บริษัทจดทะเบียน -- การจัดการ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ของธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคต และเพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการนำแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) เ้ข้ามาใช้ในองค์กร โดยทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 ธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า 1. เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรและเทคนิคสมัยใหม่ที่ยังมีการใช้ในปัจจุบันสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ Training (การฝึกอบรม) คิดเป็นร้อยละ 100 Job desription (การจัดทำคำบรรยายลักษณะงาน) คิดเป็นร้อยละ 94.9 Procedure manuals (การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน) คิดเป็นร้อยละ 85.2 2. เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ที่ธุรกิจมีแผนจะนำมาใช้ในอนาคตสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ Learning organization (องค์กรแห่งการเรียนรู้) คิดเป็นร้อยละ 61.4 Knowledge management (การจัดการความรู้) คิดเป็นร้อยละ 46.6 และ Career planning development (การวางแผนและการพัฒนาสายอาชีพ) คิดเป็นร้อยละ 44.9 3. เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ที่ธุรกิจไม่เคยใช้และไม่มีแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคตสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Six sigma คิดเป็นร้อยละ 59.7 Sensitivity training of T-group (การฝึกอบรมเพื่อการรับรู้) ร้อยละ 43.2 และ Reengineering (การปรับรื้อระบบองค์กร) คิดเป็นร้อยละ 41.5 4. แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวคิดมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ แนวคิด The fifth decripline ของ Senge คิดเป็นร้อยละ 50 The learning company ของ Pedler และคณะ คิดเป็นร้อยละ 12 และแนวคิด Learning organization ของ Swieringa & Wierdsma คิดเป็นร้อยละ 10 5. ปัญหาที่พบในกระบวนการสำคัญของการนำแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้มากที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ กระบวนการที 1 คือ Knowledge acquistion (การแสวงหาความรู้) คิดเป็นร้อยละ 41 และกระบวนการที่ 2 การแบ่งปันความรู้ คือ Knowledge sharing (การแบ่งปันความรู้) คิดเป็นร้อยละ 40
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 32
ฉบับที่ 123
หน้าที่ 16 - 34
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)