รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สภาพและปัญหาการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องรอง Situation and problems of good governance of basic education schools in the eastern region
ชื่อผู้แต่ง
1.ภารดี อนันต์นาวี
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหาร
2.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การจัดการ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาและสังเคราะห์ ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการ ที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการที่ดี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานจำนวน 351 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษากรณีศึกษาและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ครู จำนวน 6 คนในสถานศึกษากรณีศึกษา 6 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารจัดการที่ดี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .984 และ 0981 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการใช้ค่าที (t-Test) และการวิเคราะห์ความแแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ปัญหาการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย 2. การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก จำแนกตามประเภทสถานศึกษาและขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก สังเคราะห์จากการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทีดี ได้ 8 ประการ คือ การพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา การกำหนดการบริหารจัดการทีดีเป็นค่านิยมหลัก การกำหนดมาตรฐานและวิธีการปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 4
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 19 - 35
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)