รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ผู้นำที่ฉลาดรู้ทางอารมณ์
ชื่อเรื่องรอง Emotionally intelligent leadership
ชื่อผู้แต่ง
1.สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ความฉลาดทางอารมณ์ -- การทดสอบ
2.อารมณ์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ นักจิตวิทยาและนักวิจัยตลอดจนผู้นำทั้งหลายในยุคปัจจุบัน ได้ให้ความสนใจและยอมรับถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความสามารถที่เชื่อมโยงกับความมีประสิทธิผลของมนุษย์ มีนักวิจัย เช่น Daniel Goleman (1999) กล่าวว่าความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญเป็นสองเท่าของความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) รวมกับทักษะทางเทคนิคในการช่วยให้ทำงานได้สำเร็จ นอกจากนี้บุคคลยิ่งมีตำแหน่งสูงขึ้นในองค์การ ความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ยิ่งทวีตามความสูงของตำแหน่งนั้น ทั้งนี้ เพราะการมีทักษะและความเข้าใจทางอารมณ์ จะช่วยเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดและการตัดสินใจตลอดจนการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นของผู้นำ มีผลการวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย : UCLA (กรมสุขภาพจิต, 2543) ซึ่งแสดงว่า 7% ของความสำเร็จในการเป็นผู้นำมีส่วนเกี่ยวข้องกับความฉลาด ส่วนอีก 93% เป็นผลจาก คุณสมบัติอื่น ได้แก่ ความไว้วางใจ ความมีสมดุล การรับรู้ ความเป็นจริง ความซื่อสัตย์ ความเป็นอยู่และการมีอำนาจเหนือ คุณสมบัติด้านเชาว์ปัญญาเหล่านี้เป็นที่มาของ EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ทั้งสิ้น Higgs และ Dulewicz (1999) นักวิจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ ได้ช่วยทำให้คำนิยามที่แจ่มชัดขึ้นของคำว่าความฉลาดทางอารมณืหรือ Emotional Intelligence และช่วยให้เราเข้าใจถึงผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมของการทำงาน โดยเห็นว่าควรให้คำนิยามใหม่ไว้ดังนี้ "ความฉลาดทางอารมณ์" หมายถึง การบรรลุเป้าหมายของบุคคล โดยใช้ความสามารถบริหารจัดการกับความรู้สึกและอารมณ์ตนเอง มีความสามารถรับรู้ได้ไว และมีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอื่นๆ และสามารถในการสร้างสมดุลของภาวะจูงใจและแรงขับของตนเองด้วยพฤติกรรมอย่างผู้มีสติสัมปชัญญะและมีจริยธรรม" จึงกล่าวได้ว่าผู้นำ้ที่มีประสิทธิผล คือ ผู้นำที่สามารถในการควบคุมและกำกับพลังอำนาจทางอารมณ์ของตน ไปเพื่อการเสริมสร้างความพึงพอใจรวมทั้งขวัญกำลังใจและแรงจูงใจของพนักงาน ตลอดจนส่งเสริมความมีประสิทธิผลให้กับองค์การ โดยเฉพาะในภาวะแวดล้อมที่ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับพนักงานและลูกค้ามากกว่าเรื่องเทคโนโลยีและวัสดุอุปกรณ์ด้วยแล้วหน่วยงานทั้งหลายจึงเพิ่มความสำคัญต่อการพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ให้กับผู้นำของตนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามผู้อ่านควรทำความเข้าใจในคำ 2 คำ ซึ่งพบว่ามักใช้แทนกันได้ คือ EQ (Emotional Quotient) และ EI (Emotional Intellegent) โดยเืื่มื่อพูดถึง IE จะเกี่ยวกับโครงสร้างด้านต่างๆ ของความฉลาดทางอารมณ์ (ซึ่งจะกล่าวต่อไปถึงสมรรถนะด้านต่างๆ ของความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำตามแนวคิดของ Daniel Goleman) ส่วน EQ มีความหมายเกี่ยวข้องกับผลที่ได้จากการวัดหรือประเมิน EI ซึ่งจะบอกให้ทราบระดับของความฉลาดทางอารมณ์ เช่นเดียวกับที่ IQ ชี้บ่งระดับความสามารถทางสติปัญญา ระดับ EQ จากแบบประเมินต่างๆ จะชี้บ่งว่าบุคคลที่ได้รับการประเมิน มีความฉลาดทางอารมณ์ด้านใดบ้างที่อยู่ในระดับควรแก้ไข ระดับทำงานไ้ด้เป็นผลสำิเร็จ และระดับที่ดีมาก โดยแบบประเมินแต่ละชนิดก็จะประกอบด้วยความฉลาดทางอารมณ์ที่ต้องการประเมินมากน้อยต่างกัน สำหรับบทความนี้จะเลือกใช้แบบประเมินของ Hendrie Weisinger ซึ่งอยู่ตอนท้ายของบทความเพื่อให้ผู้อ่านลองประเมินความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ของตัวเองต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 4
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 11 - 18
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)