รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลกระทบต่อราคาและปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ที่ถูกปรับเข้าและออกจากดัชนี SET50
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | มรกต ชนินทรานุรักษ์ |
2. | ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์ |
3. | ไทยศิริ เวทไว |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | อนุพันธ์ทางการเงิน |
2. | ดัชนีราคาหุ้น |
3. | หุ้นและการเล่นหุ้น -- การประเมิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
จากหลักฐานการศึกษาในอดีตของประเทศที่ตลาดการเิงินมีการพัฒนาแล้วแสดงให้เห็นว่า ในวันประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่จะถูกใช้ในการคำนวณดัชนีนั้น กรณีหลักทรัพย์ที่ถูกปรับเข้าในดัชนีจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าปกติ ในขณะที่หลักทรัพย์ที่ถูกปรับออกจากดัชนีจะมีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าปกติ และพบว่า ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ถูกปรับเข้าและออกจะเพิ่มสูงขึ้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาึถึงผลกระทบดังกล่าวต่อหลักทรัพย์ที่ถูกปรับเข้าหรือออกจากดัชนี SET50 ในประเทศไทยและพบว่า หลักทรัพย์ที่ถูกปรับเข้ามีอัตราผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยสูงกว่าปกติตลอดช่วงที่ศึกษาที่ประมาณ 6.76% และหลักทรัพย์ที่ถูกปรับออกมีอัตราผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยต่ำกว่าปกติตลอดช่วงเวลาที่ศึกษาที่ประมาณ 6.17% และไม่พบการคืนกลับของราคาหลักทรัพย์ในภายหลังของทั้ง 2 กลุ่มหลักทรัพย์ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน Imperfect substitute สมมติฐาน Information signaling และสมมติฐาน Liquidity นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า หลักทรัพย์ที่ถูกปรับเข้าและออกจากดัชนี มีสัดส่วนปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นในวันประกาศ และวันที่มีผลจริง ซึ่งสอดคล้่องกับสมมติฐานของการเข้ามาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่ถูกปรับเข้าในหรือออกจากดัชนี เพื่อลอกเลียนอัตราผลตอบแทนของดัชนีนั้นของกองทุนดัชนี (Index fund)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)