รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงานของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯ กับฮ่องกงและสิงคโปร์
ชื่อเรื่องรอง IPA of business potential in Bangkok's international convention and exhibition business compared with Singapore and Hong Kong
ชื่อผู้แต่ง
1.ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม
หัวเรื่องคำสำคัญ
1. ศูนย์แสดงสินค้า
2. ศูนย์การประชุม
3.ธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
หัวเรื่องควบคุม
1.การประชุม -- การจัดการ -- แง่เศรษฐกิจ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มุ่งเพิ่มศักยภาพของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯ ด้วยการเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และฮ่องกง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของกรุงเทพฯ กับสิงคโปร์และฮ่องกง และให้ข้อเสนอแนะแก่ธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯ ผู้ให้ข้อมูลด้วยแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้คือ ระดับผู้บริหารของกลุ่มผู้ให้บริการ (Service Provider) จำนวน 101 ราย กลุ่มผู้รับบริการ (User) 133 ราย และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จำนวน 58 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมระดมความคิดเห็น และการสังเกตการณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนสิงหาคม 2552 เทคนิคการวิเคราะห์ที่ใช้ ได้แก่ (1) สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ยเลขคณิต, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติต่อการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติ (สถิติที่ใช้คือ Levene test, F-test, LSD, Brown-Forsythe, Dunnett T3, Independent t-test ตามแต่กรณี) (3) เทคนิคการวิเคราะห์ระดับความสำคัญและระดับการปฏิบัติงาน (Importance Performance Analysis: IPA) และ (4) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ พบว่า กรุงเทพฯ มีสมรรถนะที่ด้อยกว่าสิงคโปร์และฮ่องกง และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อเพิ่มศักยภาพ เรียงตามลำดับความสำคัญเป็นดังนี้ 1. เสถียรภาพทางการเมืองและนโยบาย 2. ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในธุรกิจฯ 3. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. การเดินทางถึงสถานที่พัก/สถานที่ประชุม (รวมถึงการเดินทางทางอากาศเข้าสู่เมืองที่จัดงาน) 5.สุขอนามัย 6. คุณภาพและความเพียงพอของบริการอินเทอร์เน็ต 7. การสนับสนุนจากภาครัฐ 8. การเิดินทางภายในเมือง (ความหลากหลาย ความสะดวก ความหนาแน่นของการจราจร) 9. ความสามารถของผู้จัดการประชุมมืออาชีพ 10. ความสามารถของผู้จัดนิทรรศการมืออาชีพ 11. ความพร้อมของสถานที่แสดงนิทรรศการ (ขนาดพื้นที่และการจัดการ) 13.สภาพแวดล้อมทางกายภาพ 14. การสนับสนุนจากภาคเอกชน 15. การตรวจคนเข้าเมือง (ความสะดวก ความรวดเร็ว และการจัดการแก้ไขปัญหา) 16. ค่าใช่จ่ายในการจัดประชุมและนิทรรศการและผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการเพิ่มศัยกภาพตามแต่ละปัจจัย เช่น - ปรับปรุงการทำงานของ ปปช. และ สสปน. ให้มีนโยบายและงบประมาณที่มั่นคง - ปรับปรุงระบบการศึกษา เน้นการปฏิบัติจริง - เร่งสร้างระบบคมนาคมที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 34
ฉบับที่ 131
หน้าที่ 51 - 88
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)