รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง A MODEL OF DEVELOPING SCHOOL EFFECTIVENESS FOR LARGE-SIZED SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION
ชื่อผู้แต่ง
1.นิตยา มั่นชำนาญ
2.สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
3.สุขุม มูลเมือง
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.รูปแบบ
2.การพัฒนา
3.ประสิทธิผลโรงเรียน
4.โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
5.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จากผู้เชียวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 24 คน 2) ตรวจสอบความเมาะสมของข้อมูล เชิงประจักษ์กับรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผล และ 3) เปรียบเทียบความสอดคล้องของข้อมูลเชิง ประจักษ์กับรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผล จำแนกตามรูปแบบสมมติฐาน 2 รูปแบบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็นโรเงรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 262 โรงเรียน โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านการปรับตัว ประกอบด้วย ความสามารถในการปรับตัวฃการใช้นวัตกรรม ในการบริหาร ความก้าวหน้าขององค์การ การพัฒนาคุณภาพขององค์การอยางต่อเนื่อง (2) ด้านการบรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์หรือความสำเร็จ คุรภาพขององค์การ การได้มาซึ่งทรัพยากร ประสิทธิภาพของการทำงานขององค์การ (3) ด้านการบูรณาการ ประกอบ ด้วย ความพึงพอใจในการทำงาน บรรยากาศองค์การ การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาความคัดแย้ง และ (4) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอยด้วย ความจงรักภักดีของบุคลากรต่อองค์การ การกำหนด เป้าหมายในชีวิต การจูงใจในการทำงาน และความเป็นตัวของตัวเองของบุคลากร 2) รูปแบบการ พัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่มีความเหมาะสมและมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจราณาจากค่า GFI เท่ากับ .903 ค่า NFI เท่ากับ .961 ค่า CFI เท่ากับ .978 ค่า AGFI เท่ากับ .860 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.7 มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยพิจรณาจากความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้าและความเที่ยงตรงเชิงจำแนก ซึ่งพิจรณาจากค่า CR มีค่า ระหว่าง .91 ถึง .95 ค่า AVE มีค่าระหว่าง .76-.84 ค่า λ อยู่ระหว่าง .77–.97 และมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .01 มีค่าสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาค ระหว่าง .91 - .95 แสดงถึงความเที่ยงตรง เชิงลู่เข้า นั้นคือตัวแปรทุกตัวสามารถวัดได้ตรงตามโครงสร้างจริง และองค์ประกอบทุกคู่มีความ แตกต่างกันที่ระดับนียสำคัญทางสถิติที่ .05 แสดงว่าองค์ประกอบมีค่าความเทียงตรงเชิงจำแนก นั้นคือ ทุกองค์ประกอบมีความแตกต่างกัน 3) รูปแบบสมมติฐานที่ 2 มีความเหมาะสมและสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่ารูปแบบที่ 1 นั้นคือ รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลโรงเรียนที่พัฒนา จากทฤษฎีได้รับการยืนยันว่าสอดคลิ้งกับข้อมูลเชิงประจักษ์
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 6
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 31-44
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)