รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยระบบการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง DEVELOPING A MODEL FOR EFFICIENCY IN EDUCATION FOLLOWING THE STRATEGY TO DEVELOP THE SMALL SIZE SCHOOL BY PARTICIPATORY ACTION RESEARCH UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
ชื่อผู้แต่ง
1.จรูญ จับบัง
2.ภารดี อนันต์นาวี
3.เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
4.สมโภชน์ อเนกสุข
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก
3.กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กด้วยกระบวนการเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วงจรปฏิบัติการของเคมมิสและแม็คเทกการ์ (Kemmis & Mctaggart, 1988) กลุ่มทีเข้าร่วมปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 7 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน โดยศึกษาที่โรงเรียนบ้านคลองขวางบน จังหวัดปทุมธานี การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาคุฯภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาดรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1) การพัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการ 2) การพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพการศึกษา 3) การเสริมสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา โดยมีรูปแบบ คือการพัฒนาคนในด้านความชำนาญในทักษะด้านสานสนเทศ การสร้างขวัญและกำลังใจและพัฒนาโครงสร้างการทำงานที่เหมาะสม การพัฒนาระบบงานในด้านการผลิตสื่อ การใช้แผนการสอนคละชั้น การนิเทศและการเสริมสร้างให้ครูได้เข้ารับการอบรม การมีส่วนร่วมในด้านเครือข่ายชุมชน และทรัพยากร และการส่งเสริมสร้างศักยภาพในด้านการหมุนเวียนการสอนของครู หมุนเวียนสถานที่และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จากรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ด้าน คือคุณภาพครู คุณภาพการบริการจัดการคุณภาพนักเรียนและคุณภาพการเรียนการสอน ประสิทธิผลของรูปแบบทำให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาในด้านความรู้ความสามารถของครู ความเข้าใจ พัฒนาการทำงาน มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีการใช้ทรัพยากรทั้งหมดภายในและภายนอก โรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และนักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างหลากหลายเพิ่มมากขึ้นตามศักยภาพของตนและได้เรียนรู้ อย่างมีความสุขและเกิดความรักและผูกพันโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 6
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 59-72
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)