รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สภาพการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา
|
ชื่อเรื่องรอง |
The Existing of Research Administration of Burapha University
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ฐิติพร จิตตวัฒนะ |
2. | สุรัตน์ ไชยชมพู |
3. | ยุวดี รอดจากภัย |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การบริหารงานวิจัย |
2. | มหาวิทยาลัย |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มุ่งเพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา และหาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านการวิจัย โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลเฉพาะคณะ/วิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน จังหวัดชลบุรีใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหารงานวิชาการที่รับผิดชอบงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้บริหารงานวิชาการที่รับผิดชอบงานวิจัยระดับส่วนงาน ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา จำนวน 9 คน ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า(Triangulation) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา มีคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการผลิตผลงานวิจัย และมีคณะกรรมการระดับส่วนงานทำหน้าที่บริหารจัดการให้เกิดผลงานวิจัยในส่วนงาน รวมถึงการมีหน่วยงานส่งเสริมการวิจัยและบัณฑิตศึกษาเป็นหน่วยงานกลางที่ให้การสนับสนุนการทำวิจัย และประสานงานด้านงานส่งเสริมการวิจัยกับส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย แนวทางสำคัญในการพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย วิจัย คือ สร้างวัฒนธรรมและค่านิยมให้บุคลากรเน้นการวิจัยมากกว่าการจัดการเรียนการสอน และมีข้อเสนอและว่ามหาวิทยาลัยควรมีแนวทางในการบริหารงบประมาณเพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการให้บริการทางการศึกษาในด้านอื่นมากกว่าการจัดการเรียนการสอน อันเป็นการช่วยลดภาระงานสอนของคณาจารย์ส่งผลให้มีเวลาทำวิจัยเพิ่มขึ้น ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการวิจัยควรมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือในการวิจัยและ การนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการระดมทุนในการสนับสนุนการทำวิจัยทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนอันจะเป็นการช่วยสร้างเครือข่ายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ได้จริง และมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) สาขาวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยตามกลุ่มสาขาวิชาและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)