รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีศึกษาบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และบ้านดาวเรือง หมู่ที่10 ตำบล พลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พงษ์เสถียร เหลืองอลงกต |
2. | นิภา นภาเศรษฐ์ |
3. | ทิพย์วรรณ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การดำเนินงานโครงการ |
2. | โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัย” การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีศึกษา บ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และ บ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี” มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด (2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยาดจนของบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และ (3) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดกับบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับสนทนากลุ่มย่อยคือ คณะกรรมการโครงการ กข.คจ.บ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด รวมสมาชิกในโครงการจำนวน 20 คน และคณะกรรมการโครงการ กข.คจ. บ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและสมาชิกในโครงการ จำนวน 11 คน ได้ผลการวิจับดังนี้
ผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด พบว่าคณะกรรมการได้มาโดยวิธีการประชุมเลือกตั้ง ทั้งหมดมีจำนวน 9 คน ในการวางแผนการทำงานจะให้ความสำคัญเรื่องการพิจารณาปล่อยเงินยืม โดยสื่อสารให้สมาชิกนำแบบฟอร์มการยืมเงินไปหรอกและพิจาณาการยืมเงินจากวัตถุประสงค์การยืม มีการใช้ศาลาประชาคม หมู่ที่ 4 บ้านหนองมาตรเป็นสถานที่ประชุมโดยคณะกรรมการรับผิดชอบตามหน้าที่ที่แบ่งงานกันในส่วนของการดำเนินงาน คณะกรรมการมีหลักเกณฑ์คัดเลือก ครัวเรือนเป้าหมายโดยพิจารณาครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. และครัวเรือนยากจนที่มีความตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพเสริม และมีการพิจารณาจากโครงการที่ส่งมา โดยดูจากเหตุผลและความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งประมาณกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี สมาชิกที่ยืมเงินไปต้องส่งใช้คืนเงิน หลังจากนั้นกรรมการจะพิจารณาอนุมัติเงินยืมใหม่โดยกระบวนการพิจาณาเงินยืมประมาณ 1 อาทิตย์ แต่กระบวนการขั้นตอนจนถึงการเบิกจ่ายใช้เวลาประมาณครึ่งเดือน ในการจ่ายเงิน/โอนเงิน นายอำเภอบ่อไร่จะเป็นผู้ลงนาม ส่วนใหญ่สมาชิกจะยืมเงินไปประกอบอาชีพเสริม เช่น ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในส่วนของการจูงใจ คณะกรรมการมีการแจ้งให้ผู้ยืมทราบว่าถ้าคืนเงินเร็วก็ยืมเงินรอบใหม่ได้เร็ว ในเวลาที่มีปัญหาคณะกรรการจะนำมาพูดคุยกัน ร่วมกันหาทางออก ให้กำลังใจซึ่งกันและกันในส่วนของการควบคุม มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนให้ครัวเรือนที่มีความต้องการให้ผลัดกันยืมเงิน และมีคณะกรรมการติดตามสมาชิกที่กู้ยืมเงินไป โดยวิธีการพูดคุยและเยี่ยมเยียน ผลลัพธ์ คือครัวเรือนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
ผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านดาวเรืองตำบล พลับพลา อำเภอเมือง จันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า คณะกรรมการได้มาโดยการคัดเลือกจากชาวบ้านผ่านเวทีประชาคมมีจำนวน 11 คน ในส่วนของการวางแผนให้ความสำคัญต่อการพิจารณาการปล่อยเงินยืม ตามความจำเป็นและเหมาะสม ใช้สถานที่บ้านอาจารย์ลิ้นจี่ อตัญที เป็นศูนย์ปฏิบัติการ คณะกรรมการทุกคนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดีและทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้ ในส่วนของการดำเนินงาน คณะกรรมการมีหลักเกณฑ์คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายโดยพิจารณาครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. และครัวเรือนยากจนที่มีความตังใจจริงในการประกอบอาชีพ การเบิกจ่ายเงินคณะกรรมการโอนเงินให้ผู้ยืม ผ่านธนาคารกรุงไทยชื่อบัญชี “โครงการ กข.คจ.บ้านดาวเรือง” สมาชิกส่วนใหญ่ยืมเงินไปประกอบอาชีพเสริม เช่น ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในด้านการจูงใจ คณะกรรมการมีการจูงใจให้ครัวเรือนเป้าหมายปฏิบัติตามกฎโดยกรรมการแนะนำสมาชิกให้มีวินัยในการใช้เงินและคืนเงินให้ตรงเวลา และเมือมีปัญหาคณะกรรมการจะนำมาพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ส่วนการควบคุม มีการหมุนเวียนเงินยืมให้กับครอบครัวเป้าหมายเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยที่จะมีคณะกรรมการติดตาม กำกับ ดูแล ครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงินไป ผลลัพธ์คือคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเป้าหมายดีกว่าเดิม
ผลการเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดกับบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ประเด็นที่เหมือนกัน การได้มาของคณะกรรมการของทั้ง 2 หมู่บ้านมีการคัดเลือกผ่านเวทีประชาคม ด้านการวางแผน ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาการปล่อยเงินยืม ตามความจำเป็นและเหมาะสมว่าจะนำเงินไปประกอบอาชีพ ด้านการจัดองค์กรทั้ง 2 หมู่บ้านมีรูปแบบการจัดองค์กรที่เหมือนกันประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการและกรรมการ ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีกระบวนการพิจารณาการให้ยืมเงินให้สมาชิกที่ยืมเงินไปต้องส่งเงินคืนหลังจากนั้นคณะกรรการกองทุนพิจารณาอนุมัติเงินยืมใหม่ ด้านการจูงใจ มีการประชาสัมพันธ์ให้กับสมาชิกว่าถ้ามีการนำเงินมาคืนเร็วก็จะพิจารณาปล่อยกู้ในรอบใหม่ได้เร็ว ด้านการควบคุม มีคณะกรรมการโครงการคอยกำกับ ดูแล ติดตามสมาชิกในโครงการและการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนให้ครัวเรือนที่มีความต้องการให้ผลัดกันยืม ส่งผลให้ทั้ง 2 หมู่บ้านจะมีผลลัพธ์เหมือนกัน คือ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
ประเด็นที่แตกต่างกัน บ้านดาวเรืองมีคณะกรรมการ 11 คน และทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันแต่บ้านหนองมาตรมีคณะกรรมการ 9 คนและทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไม่มีการสลับหน้าที่
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)